วันศุกร์, 2 มิถุนายน 2566

G-LOC ทอ.เผยสาเหตุ F16 ADF ตกที่ชัยภูมิ

กองทัพอากาศ ตั้ง 3 ประเด็น
สาเหตุ F16 ตกที่ชัยภูมิ
อาจเป็น G-Loc
เมื่อ ดึง 8G ก่อนเห็น “ดินเต็มหน้า”
สุขภาพนักบิน -ระบบออกซิเย่นเครื่อง -ชุดG-Suit แต่รอผลสรุป ทางการ
เผย ปากคำนักบิน ลำ2
เห็นลำแรก บินต่ำผิดปกติ
คาด เกิด G-LOC มารู้สึกตัว ก็ เห็นดินเต็มหน้า แล้ว จึง Eject ดีดตัวสละเครื่อง รอดหวุดหวิด
ผลตรวจ ยันนักบิน แข็งแรงดี พักผ่อนเพียงพอ ชี้ อาการG-LOC เกิดขึ้นได้เสมอ
.

มีรายงานว่า กองทัพอากาศ ได้ชี้แจงและให้ข้อมูล กรณีเครื่องบินขับไล่ F-16 ADF. ประสบอุบัติเหตุตก ที่ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อ 8 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ต่อคณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

กองทัพอากาศ ระบุว่า เครื่องบินลำที่ตก
เครื่องบิน F-16 A หมายเลข 10331 เป็นเครื่องบิน F-16 ADF เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามาแล้ว 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524

และกองทัพอากาศไทยได้จัดซื้อเป็นเครื่องบินมือสองมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน รวมอายุการใช้งานเครื่องบินมากกว่า 40 ปี

ชั่วโมงบินรวม 6,009.7 ชั่วโมงบิน ชั่วโมงเครื่องยนต์ 3,588.3 ชั่วโมงบิน (เข้ารับการตรวจซ่อมตามระยะเวลาที่กำหนด) ซึ่งเครื่องบินลำนี้ ได้ถูกปลดประจำการจากฝูงบิน 102 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 แล้ว

แต่กองทัพอากาศได้คัดเลือกเครื่องบินที่ยังสามารถบินได้มาใช้ประโยชน์ต่อ โดยนำมารวมกับ F-16 ฝูงบิน 103 กองบิน 1 เปลี่ยนจากหมายเลข 10210 เป็น 10331และมีการซ่อมบำรุงตามวงรอบ เพื่อให้เครื่องบินมีความพร้อมสูงสุดในการปฏิบัติภารกิจรักษาอธิปไตยของชาติ

ทั้งนี้ ตามเอกสารของกองทัพอากาศ ระบุ ว่า กองทัพอากาศได้วิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุเบื้องต้นว่าเป็นไปได้3 กรณีคือ

1.ระบบออกซิเจนของเครื่องบินผิดปกติ
2.ชุดปรับแรงดันหรือ G-Suit ทำงานผิดปกติ
3.สุขภาพนักบินผิดปกติ

โดยมีรายงานว่า ก่อนขึ้นบินตรวจสอบแล้วพบว่าระบบออกซิเจนทำงานปกติ แต่ต้องตรวจสอบกับซากเครื่องต่อไป

ขณะที่ มีรายงานข่าวจาก ทอ. ว่า จากการสรุปรายงานอากาศยานอุบัติเหตุเบื้องต้น นั้น ใน ปัญหาด้านสุขภาพนักบิน

การตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า นักบินนอนหลับพักผ่อนเพียงพอก่อนทำการบิน
นักบินรับประทานอาหารก่อนทำการบิน
นักบินได้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศตามระยะเวลาที่กำหนด ผลการตรวจ ปกติ

ก่อนทำการบิน นักบินไม่มีอาการเจ็บป่วย ไม่มีการทานยา
ผลการตรวจเลือด หลังเครื่องบินอุบัติเหตุ ไม่พบสารเสพติด แอลกอฮอล์ และไม่พบสิ่งผิดปกติ
การตรวจสุขภาพนักบิน แพทย์เวชศาสตร์การบิน จะต้องทำการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดต่อไป

ทั้งนี้ คณะสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุของกองทัพอากาศ ได้เดินทางไป
สอบสวนในที่เกิดเหตุ ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ และ สัมภาษณ์พยาน
ทำการเก็บกู้ซากเครื่องบิน เพื่อทำการพิสูจน์ตรวจสอบ

และจากการสอบสวน พยานนักบินของเครื่องบินหมายเลข 2 ในการฝึกบินขับไล่ขั้นมูลฐาน (BFM) เริ่มที่ระยะสูง12,000 ฟุต ขณะบินต่อสู้กันระยะสูง เครื่องบินหมายเลข 2 อยู่ที่ 12,000 ฟุต เครื่องบินหมายเลข 1 อยู่ที่ 8,000 ฟุต
นักบินของเครื่องบินหมายเลข 2 เห็นเครื่องบินหมายเลข 1 มีแนวโน้มลงต่ำกว่าระยะสูงที่ปลอดภัย (6,000ฟุต)
นักบินของเครื่องบินหมายเลข 2 จึงได้แจ้งเตือน นักบินของเครื่องบินหมายเลข 1 ให้ระวังเครื่องบินต่ำ แต่ไม่มีการตอบรับ

และต่อมาอีก 5 วินาที จึงได้ยินเสียงเก้าอี้ดีดของเครื่องบินหมายเลข 1 ทำงาน จึงทราบว่าเครื่องบินตก (ตามคลิป)

เหตุเกิด ขณะเครื่องบินหมายเลข 1 (ลำที่ตก) ไล่ยิง (ทำDogfight)เครื่องบินหมายเลข 2 ระยะสูงได้ต่ำลงเรื่อย ๆ ตามยุทธวิธีการฝึก
การไล่ยิงกันประมาณรอบที่สอง มีอาการสูญเสียความสามารถในการบังคับ
อากาศยานชั่วคราว (G induce Loss Of Consciousness “G-LOC”)

และ รู้สึกตัวอีกครั้ง เมื่อได้ยินนักบินของเครื่องบินหมายเลข 2 เรียกชื่อ และเห็น
เครื่องบินพุ่ง ลงพื้นดินที่ระยะสูงต่ำ

ภาษานักบิน เรียกว่า “ดินเต็มหน้า” นักบินของเครื่องบินหมายเลข 1 จึงสละเครื่องบิน ที่ระยะสูงราว 2,000 ฟุต ความเร็ว 530 น็อต (ประมาณ 2,000 กม./ชม.)

จึงมีการตั้ง 3 ประเด็น ว่า อาจเกิดจาก
-ระบบออกซิเจนของเครื่องบินผิดปกติ
-ชุดปรับแรงดันหรือ G-Suit ทำงานผิดปกติ
-สุขภาพนักบินผิดปกติ

สำหรับ การเกิด G-LOC นั้น เป็น Human Limitations สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะนักบินที่ทำ การบินกับเครื่องสมรรถนะสูง ซึ่งจะต้องอาศัย
ร่างกายและเครื่องช่วยอื่น ๆ เช่น G-SUIT, ความเอียงของที่นั่งนักบิน เพื่อให้สามารถบังคับอากาศยานได้ ขณะมีแรง G มากระทำต่อร่างกายนักบิน

ส่วน การเกิด G-LOC มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ แต่ประการสำคัญ คือ การบังคับอากาศยานไปในย่านที่อาจก่อให้เกิดลักษณะดังกล่าว ซึ่งการบังคับอากาศยานจะขึ้นอยู่ กับสถานการณ์ที่นักบินกำลังเผชิญในขณะนั้น โดยอาจจะเริ่มจากความสามารถในการมองเห็นลดลง หรือไม่มีสัญญาณบอกเหตุที่สามารถสังเกตุได้ก่อนการเกิด
G-LOC เช่น การบังคับอากาศยานในท่าทางที่ทำให้เกิดแรง G เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

ขอบคุณ คลิป และข้อมูล บางส่วน จาก เพจ: นาย เกษมสันต์ มีทิพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สมาชิก กรรมาธิการทหารฯ

error: Content is protected !!