วันพุธ, 7 มิถุนายน 2566

ทบ.จับมือ DTi กลาโหม -จีน ทำระบบ UAS: Unmanned Aircraft System

22 พ.ย. 2021
1188
ทบ.เผย โครงการวิจัย-พัฒนา UAV
จับมือ DTi กลาโหม -จีน
ทำระบบ UAS: Unmanned Aircraft System
พัฒนา UAV ขนาดกลาง
“ศบบ.” ส่ง2 นักบิน ร่วมทีม DTi ไปฝึก
.
เอกสาร ข่าวทหารบก คอลัมน์ เขี้ยวเล็บกองทัพบก เปิดเผย ถึงระบบอากาศยานไร้คนขับ หรือ Unmanned Aircraft System (UAS) ของทบ. ว่า ในปัจจุบัน ระบบอากาศยานไร้คนขับ UAS มีความสำคัญและบทบาทอย่างมากในสมรภูมิการรบ
ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ทบ. ที่ได้ริเริ่มจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับให้บรรจุอยู่ในหน่วยดำเนินกลยุทธ์ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหน่วยสนับสนุนการรบ ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบ Searcher Mk 1 จำนวน 1 ระบบ ทำให้ ทบ. เป็นหน่วยงานแรกของประทศ ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับมาใช้งาน
โดยบรรจุเข้าประจำการที่ ร้อย คปม.พล.ป. ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับของ ทบ. จนถึงปัจจุบัน
โดยได้มีการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับมาใช้งานอย่างต่อเนื่องในระดับยุทธการด้วยการสนับสนุนการรบให้แก่หน่วยดำเนินกลยุทธ์ในเขตปฏิบัติการของกองพลดำเนินกลยุทธ์ขึ้นไป
ซึ่งแนวโน้มความต้องการระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง (Medium UAV) นั้นจะต้องติดตั้งระบบติดอาวุธแบบอากาศสู่พื้นที่มีความแม่นยำสูง รัศมีปฏิบัติการได้ใกล และระยะเวลาปฏิบัติการนานมากขึ้น
ดังนั้น สวพ.ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของ ทบ. จึงดำเนินงานตามนโยบายของ ผบ.ทบ.ในการพึ่งพาตนเอง “ไทยทำไทยใช้”
โดยประสานความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง ร่วมกันระหว่าง ทบ. กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ : สทป. หรือ DTi กลาโหม
ซึ่งได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางสำหรับ ทบ. (Medium Unmanned Aircraft System)ระหว่าง ทบ. โดย ศูนย์การบินทหารบก(ศบบ.) เป็นหน่วยเจ้าของโครงการ กับ สทป.
โดย ศบบ. เผยว่า เป็น โดรน ที่ ทบ. และ สทป.ร่วมมือวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง BZK-005E ร่วมกับ Beihang UAS Technology ของ จีน
เพื่อผลิต ขึ้นในประเทศไทย โดย ศบบ. ได้ส่ง 2 นักบิน ร่วมกับDTi ไปฝึกการบิน การควบคุม การบินUAV แล้ว
ทั้งนี้ได้กำหนดให้ต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสำหรับนำมาใช้ใน ทบ.
คุณลักษณะของระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางของโครงการวิจัยและพัฒนาฯ เพื่อนำไปใช้ในภารกิจลาดตระเวน เฝ้าติดตามสถานการณ์การหาข่าว ค้นทาและระบุที่ตั้งเป้าหมาย เพื่อการปรับการยิงปืนใหญ่ และอาวุธยิงสนับสนุนอื่น ๆ ในการสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ โดยระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง
จากการวิจัยและพัฒนาร่วมนี้จะถูกออกแบบให้ลามารถบินได้นาน มีระยะปฏิบัติการที่ใกลเกินกว่าขอบเขดของการปฏิบัติในระดับกองพลประกอบกับสามารถติดตั้งอุปกรณ์ (Payload) ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งติดตั้งระบบอาวุธปล่อยจากอากาศสู่พื้นแบบนำวิถีได้อีกด้วย ผลผลิตที่ ทบ. จะได้รับจาก โครงการวิจัยและพัฒนาฯในปีงบประมาณ2565 คือ
ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบลาดตระเวน และเฝ้าระวัง
ประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง จำนวน2 ลำ พร้อมระบบควบคุมปฏิบัติการภาคพื้น (สถานีควบคุมภาคพื้น) ระบบ และกล้องถ่ายภาพทั้งแบบกลางวัน (Electro Optical Camera) และแบบกลางคืน
(Thermal Camera) และติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์Synthetic Aperture Radar (SAR) ทำให้มีขีดความ สามารถในการลาดตระเวน เฝ้าตรวจสนามรบ และติดตามเป้าหมายในพื้นที่ โดยสามารถถ่ายภาพมุมสูงได้
.
ข้อมูล: เอกสารข่าวทหารบก , ศบบ.
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
error: Content is protected !!