วันจันทร์, 25 กันยายน 2566

“เสืออากาศ24/7” ปล่อยของ!! แจง สเปค ผู้นำกองทัพอากาศ คุณสมบัติ ผู้เหมาะเป็น”ผบ.ทอ.”

“เสืออากาศ24/7”
ปล่อยของ!!
แจง สเปค
ผู้นำกองทัพอากาศ
คุณสมบัติ ผู้เหมาะเป็น”ผบ.ทอ.”

ชี้ “ใครคนใดผู้ถูกปั้นให้เสมือนเป็นคนเก่งในปีท้ายๆ 1-2 ปีก่อนเกษียณอายุราชการ นั้นถือว่ามิใช่ผู้นำตัวจริงของกองทัพอากาศ!!”

.
“เสืออากาศ24/7” คอลัมนิสต์ ทอ. ที่เชื่อกันว่า อาจคือ พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ ผบ.ทอ.เอง เขียนบทความ เรื่อง “ผู้นำกองทัพอากาศ”
การสร้างผู้นำของกองทัพอากาศ” อจกจ่าย แชร์กันในทอ.

โดยระบุว่า…..

กำเนิดผู้นำกองทัพอากาศนับแต่อดีตที่ผ่านมา คือ
-เป็นบุคคลผู้ชาญฉลาดที่ต้องเป็นนักบินทำหน้าที่ขับเครื่องบินซึ่งต้องมีความฉลาดในทางวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์-คณิตศาสตร์/คิดคำนวณ-วิศวกรรม)มากมายอยู่ในตน
-เป็นบุคคลผู้มีความกล้าที่จะบินขึ้นไปในอากาศ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่มิใช่เป็นเรื่องราวของมนุษย์ก็ตาม
-เป็นบุคคลผู้ผ่านการศึกษามาจากต่างประเทศ อันมีความกระจ่างในภาษาและในกิจการต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
-เป็นบุคคลผู้ฉลาดเฉลียว-มีความคิดสร้างสรรค์-มีวิสัยทัศน์ สามารถลงมือทำการใดๆ(สร้างเครื่องบินขึ้นใช้เอง)และชักนำสร้างทายาทสืบทอดร่วมกันสร้างเครื่องบินขึ้นมา
-เป็นบุคคลที่มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่เป็นผู้นำ : นำพาลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ-นำพาไปในที่ที่ไม่เคยไป
(มีคุณสมบัติในสิ่ง 6 ประการที่ทหารอากาศต้องมี และ ใน 10Q ที่ทหารอากาศต้องทำให้เกิดมีในตน …ครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีผู้ใดบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อน)
-มีจิตวิญญาณในความเป็นทหารทำหน้าที่ปกป้องบ้านเมืองมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลในการใช้ศาสตร์และศิลป์ทางทหารไปใช้ในการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
(ดังเช่นจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” ได้ทรงประพฤติปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างเมื่อศตวรรษที่แล้ว)
-ต้องมุ่งสร้างทายาทคนฉลาดสืบทอดให้เกิดมีความต่อเนื่อง
(เสียดายว่าบรรดาบุตรหลานฉลาดของ ร5 ผู้ผ่านการศึกษาชั้นดีมาจากต่างประเทศนั้น มิได้มีโอกาสใช้ความฉลาดสร้างปัญญาไทยสร้างชาติบ้านเมืองไทย(กำลังอากาศไทย-รถไฟไทย-ชลประทานไทย-การสื่อสาร/ไปรษณีย์ไทย-มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรมของไทย-การเงินการธนาคารของไทย)ให้เจริญก้าวหน้า

ทว่าตรงกันข้ามกลับต้องระหกระเหินออกจากประเทศไทย หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475

ทั้งนี้ นับจาก2475นั้นเป็นต้นมาแล้วประเทศไทยก็ขาดแคลนผู้นำองค์การ/ขาดคนฉลาดผู้เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนาวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรมอย่างสิ้นเชิงและกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนามาจวบจนทุกวันนี้

กองทัพอากาศ:หน่วยงานหลักด้านกำลังทางอากาศของประเทศ

ผู้นำกองทัพอากาศแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ/ดิจิตอล(บนสภาพโลกาภิวัตน์ปัจจุบันที่มีอุตสาหกรรมเป็นฐานรากกับบนสภาพของประเทศไทยที่มีเกษตรกรรมเป็นฐานกำเนิด)
-ผู้นำกองทัพอากาศต้องเป็นคนฉลาดทางด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรม-เทคโนโลยีสารสนเทศ
#ต้องมีต้นทุนทางการศึกษาที่ดี
-ต้องฉลาดและเป็นผู้นำระดับต้นนับตั้งแต่วัยเรียนจนถึงปัจจุบันในลักษณะเสมอต้นเสมอปลาย
-ต้องมีวุฒิการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมระดับชั้นสูงที่เทียบทันสภาพโลกาภิวัตน์แห่งยุคสมัยที่ควรจะเป็น
-ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในกิจการหลักของกำลังทางอากาศทั้งในเวทีในประเทศและต่างประเทศ
ต้องผ่านตำแหน่งหน้าที่การงานสำคัญของกองทัพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง (มากที่สุดเท่าที่จะมากได้)
ดังนี้
-ต้องเคยเป็นผู้บังคับฝูงบิน(เป็นผู้บังคับหน่วยบิน)
-ต้องเคยเข้าร่วมฝึกใช้กำลังขนาดใหญ่/ระดับนานาชาติ
-ต้องเคยเป็นผู้บังคับการกองบิน(บังคับ-น้ำหนักคะแนนมาก)
-ต้องเคยเป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ณ ต่างประเทศ(หรือเคยศึกษาต่างประเทศ:บังคับ-น้ำหนักคะแนนมาก)
-ต้องเคยร่วมบุกเบิกยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ/รู้แจ่มแจ้งในเชิงยุทธศาสตร์ในการแปลงยุทธศาสตร์กองทัพอากาศสู่การปฏิบัติ-ร่วมดำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังทางอากาศ
-ต้องเคยเป็นหัวหน้าส่วนราชการฝ่ายเสนาธิการหลัก 8 กรมหลักของกองทัพอากาศ
-ต้องเคยเป็นตำแหน่งหลักระดับนายพลทหารอากาศโท (รองเสนาธิการทหารอากาศ-ปลัดบัญชี-ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ-เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ-ผู้บัญชาการอากาศโยธิน)หรือเคยบริหารโครงการขนาดใหญ่ของกองทัพอากาศ
#ต้องมีขีดความสามารถในการสร้างทีมงานคนฉลาดและนำพาคนฉลาดให้เป็นทีมงานที่ดีได้เป็นอย่างดี
-ต้องเคยเป็นผู้บัญชาการกองกำลังวางกำลังทางอากาศในต่างประเทศภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาด

หน้าที่สำคัญของผู้นำกองทัพอากาศ
ก-จัดการปัญญาไทยด้านกำลังทางอากาศให้อิงติดเหนียวแน่นอยู่กับวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรม-เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นต้นทุนของกำลังทางอากาศไทยยุคอนาคต
ข-จัดการขีดความสามารถและความพร้อมของกำลังทางอากาศให้เป็นไปตามบริบทของผลประโยชน์ของชาติทั้งผลประโยชน์ที่อยู่บนพื้นดิน-พื้นน้ำและในอากาศ-ในอวกาศ
ค-ขับเคลื่อนองค์การกองทัพอากาศให้ก้าวเดินไปตามยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ(3 Domains : Air – Cyber – Space )ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากร : แผนงาน/โครงการ-คน-เงิน/งบประมาณ ได้อย่างลงตัวบนกรอบเงิน/งบประมาณที่จำกัด
หน้าที่สำคัญที่ต้องกระทำตาม ก ข ค จึงต้องการมืออาชีพเข้ามาลงมือดำเนินการและรับผิดชอบในความสำเร็จนั่นหมายถึง บุคคลผู้สมควรทำหน้าที่เป็นผู้นำกองทัพอากาศคนนั้นจะต้องผ่านการสร้างมาอย่างดี
(ประเทศไทย(สยาม)ครั้งสมัย ร5 ต่อเนื่องถึง ร 6 /2454…โดยผู้นำกองทัพอากาศ เฉกเช่น พระบิดาแห่งกองทัพอากาศกับบุพการีกองทัพอากาศ และ อดีตผู้นำกองทัพอากาศหลายๆท่านผู้คิดสร้างเครื่องบินเป็นของไทยเราเองในสมัยต่อๆมา เป็นต้น

ยุคสมัยนั้นไทยเราเคยมีกำลังทางอากาศที่ก้าวหน้ามีศักยภาพรั้งอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

ทว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง/2475…25XX+++ แล้วทั้งบรรดาผู้นำประเทศ(กับผู้นำกองทัพอากาศเอง)ก็หันไปพึ่งพิงปัญญาทางด้านกำลังทางอากาศของชาวต่างชาติ จนทำให้กำลังทางอากาศของไทยตกอยู่สภาพตกต่ำไร้ศักยภาพรั้งอันดับท้ายๆของโลกมาจนถึงทุกวันนี้

ผู้นำกองทัพอากาศแห่งยุคอนาคตจึงเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งที่จะทำหน้าที่นำพากองทัพอากาศไทยแห่งยุคอนาคตให้มีกำลังทางอากาศที่มีศักยภาพแข็งแกร่ง-เจริญก้าวหน้า/หลุดพ้นจากการอิงติด/ยุติการพึ่งพาปัญญาของชาวต่างชาติแบบเบ็ดเสร็จอีกต่อไป)

ความท้าทายและปัญหาของกองทัพอากาศ
#ความท้าทาย คือ
$การนำองค์การก้าวไปสู่ที่ที่ไม่เคยไป
% เป็นองค์การที่มีปัญญาไทยในตัวเองบนการพึ่งพาตนเอง
“องค์การแห่งเทคโนโลยี-องค์การแห่งปัญญาไทย”
_กองทัพอากาศจำเป็นต้องมีผู้นำฉลาด-มีต้นทุนสูงทางด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ โดยฉลาดรอบรู้ทางด้าน อากาศยาน ไซเบอร์ อวกาศ ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ
“มิใช่ว่าใครจะมาเป็นผู้นำกองทัพอากาศก็ได้ ก็ด้วยเหตุผลนี้”
_กองทัพอากาศต้องมีผู้นำที่ฉลาดมีประสบการณ์ทางด้านยุทธศาสตร์/แผนงาน/โครงการ/งบประมาณโดยเฉพาะในห้วงสงครามโรคระบาดCovid-19 ในปีปัจจุบันและ/หรือในระหว่างปี 2563-256xข้างหน้าที่งบประมาณ(กำลังจะ)มีข้อจำกัด/ที่กำลังจะมีปัญหามากมาย-และมีหนี้สินค้างชำระมากมาย)
_กองทัพอากาศต้องพัฒนาตนเองให้เป็นองค์การแห่งปัญญา
-ผู้นำสูงสุดของกองทัพอากาศต้องมีต้นทุนทางปัญญาทางด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรม-เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้นทุนหลัก ทั้งนี้ ตามคุณลักษณะของกำลังทางอากาศที่มีเทคโนโลยีเป็นฐานราก
(เคยเป็นหัวหน้าตอน-เป็นนักเรียนทุนต่างประเทศ เฉกเช่น บุตรธิดาของ ร5 ที่พระองค์ได้ทรงส่งบุตรธิดาผู้ฉลาดไปศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศเพื่อหวังให้บุตรธิดาดังกล่าวกลับมาใช้ความรู้พัฒนาบ้านเมืองไทย/ให้รอดพ้นจากการตกเป็นประเทศอาณานิคม

ทั้งนี้ ความยืนหยัดอยู่รอด(มีผลการเรียนดี)ในทุกสภาวการณ์แม้จะเป็นห้วงเวลายากลำบากในระหว่างการเรียนการศึกษา(ถูกแดก-โดดเดี่ยวห่างไกลก็ตาม)ตามระบบทหารอาชีพ)
-ผู้นำกองทัพอากาศต้องมีวุฒิการศึกษาระดับสูง (ป โท – ป เอก(ดร.) และ/หรือมีประสบการณ์ฝึกศึกษาเล่าเรียนมาจากต่างประเทศในหลักสูตรหลักหลายๆหลักสูตรโดยเฉพาะหลักสูตรทางวิศวกรรม/เทคโนโลยีสารสนเทศ) เป็นพื้นฐานหลัก
-ผู้นำกองทัพอากาศต้องสามารถนำพากลุ่มมีปัญญาที่สามารถรวมพลังเป็นทีมงานได้ดี มองภาพรวมขององค์การได้อย่างกระจ่างแจ้งทั้งบริบทภายในประเทศและระหว่างประเทศ (โดยมีประสบการณ์ด้านต่างประเทศมากพอสมควร : เป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศ/ผู้ช่วยทูตทหารในต่างประเทศ-ผ่านการฝึกศึกษาทหาร/การเข้าร่วมประชุมสัมมนาระดับนานาชาติมาจากต่างประเทศ)
“องค์การแห่งปัญญาจำเป็นยิ่งที่ต้องมีผู้นำที่มีปัญญา”
“องค์การแห่งปัญญาจำเป็นต้องต้องมีทีมงานที่มีปัญญา”

%เป็นผู้นำกองทัพอากาศในอาเซียน
_เป็นผู้นำกองทัพอากาศบนการใช้ปัญญาไทยทางด้านวิทยาศาสตร์/วิจัยพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้างรับรองการใช้งานองค์ความรู้ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/นวัตกรรมทางด้านกำลังทางอากาศให้เป็นเครื่องมือผลักดัน/นำร่องสู่การมีกำลังทางอากาศเป็นของภูมิภาคเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในภูมิภาค

$การลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน
%จัดหาพร้อมพัฒนา/ Purchase & Development : P&D ที่เป็นกระบวนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์รูปแบบใหม่ที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างเต็มรูปแบบ
%นำพาอุตสาหกรรมการบินให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเฉกเช่นที่บรรพบุรุษของไทยได้เคยลงมือกระทำมาเมื่อกว่าร้อยปีเศษที่ผ่านมา/TAI
ผู้นำกองทัพอากาศในฐานะผู้นำองค์การนั้นมีหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ TAI อีกหน้าที่หนึ่งด้วย
TAI ปัจจุบันต้องเข้าสู่สภาวะแห่งความท้าทายสูงทั้งด้านการแข่งขันทางการค้า/การแข่งขันทางเทคโนโลยี-การเงินงบประมาณ
TAI ต้องได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าเหมือนกันกับบริษัทอุตสาหกรรมการบินของประเทศเพื่อนบ้าน(บนยุทธศาสตร์-บนการลงทุนวิจัยพัฒนา/เงินกำไรต้องถูกนำไปใช้ในการลงทุนและในการวิจั

#ความท้าทายของกองทัพอากาศที่ผู้นำ(สูงสุด)ต้องอุทิศทุ่มเทเพียรพยายามสูงสุดในห้วงทศวรรษหน้า
“ภาระหนี้สินค้างจ่ายที่ต้องชำระนับตั้งแต่ 2560 จนถึง256x”
“FMC ต่ำ” : PN/SN – MRS/MRL-AOG ต้องได้รับการบริหารจัดการควบคุมกำกับดูแลอย่างชาญฉลาดด้วยระบบ(System) : LMISฉลาด = มีข้อมูลครบถ้วน-มีการจัดการข้อมูลให้ทันสมัย
“ความแข็งแกร่งของสายวิทยาการในความรู้ที่ทันสมัยตามยุคสมัยที่ควรจะเป็น” ซึ่งถือเป็นความท้าทายภายในองค์การเนื่องจากต้องเร่งทำการคิดค้นวิจัยพัฒนาสายวิทยาการให้เป็นของตนเอง สายวิทยาการต่างๆกว่า41สายวิทยาการล้วนต้องอิงศาสตร์สมัยใหม่และ/หรือปลดแอกจากวิทยาการต่างชาติลงโดยเร็ว

สภาวะการณ์บ้านเมืองไทย
1_งบประมาณทางทหารที่ถูกปรับลดลง(เนื่องจากสถานการณ์Covid-19 กับสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังคงไร้เสถียรภาพ)
2_โครงการจัดหาพร้อมพัฒนา/P&D ที่จะต้องถูกขับเคลื่อนต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และงบประมาณ
3_หนี้สินคงค้างที่ ทอ ต้องชำระ(TAI -บกท)ในระยะเวลาไม่เกิน5ปีจากนี้ไป
4_การบริหารงบประมาณเบิกแทนในภารกิจสำคัญของรัฐตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์กองทัพอากาศต้องได้รับการวางแผนและควบคุมอย่างดี
1-2-3-4 ทั้ง4ข้อ ถือเป็นความท้าทายยิ่งที่กองทัพอากาศโดยผู้นำกองทัพอากาศทุกระดับต้องมีอยู่ในใจและต้องถือเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องลงมือแก้ไข
ผู้นำกองอากาศต้องฉลาดมากพอในการนำพาให้ทั้ง 4 ข้อ ลุล่วงสำเร็จโดยไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ

กระบวนทัศน์ใหม่ของกองทัพอากาศ
_ผู้นำ(สูงสุด)ของกองทัพอากาศต้องฉลาดและมีประสบการณ์ด้านการเงิน-ยุทธการ-ยุทธศาสตร์ สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำที่ “นำพากองทัพอากาศไปในที่ที่ไม่เคยไป – นำพากองทัพอากาศทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ”
-ผู้นำ(สูงสุด)ต้องมีความคิดบูรณาการ ”เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา” ในเชิงกว้างและเชิงลึกในมิติของอากาศยาน-ไซเบอร์-อวกาศ บนพื้นฐานเทคโนโลยีกับนวัตกรรมภายใต้การวิจัยพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้างรับรองการใช้งานองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย/เทคโนโลยีไทย/นวัตกรรมไทยโดยแสดงออกถึงความมุ่งมั่นเพียรพยายาม
_ผู้นำ(สูงสุด)ต้องมีความเป็นทั้งผู้นำทางทหารในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดมีขึ้นในชาติเฉกเช่น “การสร้างเม็ดเลือดขาวให้มีปริมาณพอดีในร่างกาย” ความเป็นผู้นำทางทหารนี้ต้องมีเต็มในสายเลือด

ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเป็นผู้นำทางสังคม คือการเห็นทุกข์ยากยากเข็ญของประชาชนเสมือนเป็นทุกข์ของตนและเห็นความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเป็นที่ตั้งด้วยการลงมือขจัดปัดเป่า/ลงมือเสริมสร้างในทันทีภายใต้การนำขีดความสามารถทางทหารไปใช้ในทางพลเรือน

(การบินรับส่งไปรษณีย์เมื่อ17กุมภาพันธ์2462)
_ผู้นำ(สูงสุด)ต้องมีจิตวิญญาณในความเป็นทหารทำหน้าที่ปกป้องบ้านเมืองมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลในการใช้ศาสตร์และศิลป์ทางทหารไปใช้ในการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
(ดังเช่นจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” ได้ทรงประพฤติปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างเมื่อศตวรรษที่แล้ว
_ผู้นำผู้สามารถสร้างทีมงานบริหารฉลาดและสะสมประสบการณ์รอบด้าน
_ผู้นำทุกระดับล้วนต้องเป็นคนฉลาดและมีประสบการณ์ทำงานกันเป็นทีมงานได้ดี
_ผู้นำต้องสร้างทายาทรุ่นใหม่/รุ่นต่อไปให้ทำหน้าที่เจริญรอยตามโดยมิใช่เป็นการมุ่งเน้นคนรุ่นเดียวกันเพื่อให้คนรุ่นใหม่/รุ่นต่อไปมีความสดชื่นอยู่เสมอ
ทั้งนี้ เพื่อนำพากองทัพอากาศก้าวสู่กองทัพอากาศยุคอนาคตที่เป็นกองทัพอากาศฉลาดสามารถพึ่งพาปัญญาไทยของเราเองได้

พระราชกุศโลบาย
“เริ่มต้นที่ตัวเรา – จบที่ตัวเรา”
_เริ่มต้นด้วยความฉลาดมีปัญญา ก็จบด้วยการเป็นผู้นำที่ฉลาดมีปัญญาสามารถนำพาองค์การให้ไปเป็นองค์การที่ฉลาดมีปัญญา
_เริ่มต้นด้วยความอ่อนแอ ก็จบด้วยความอ่อนแอในตนและด้วยความอ่อนแอล้าสมัยขององค์การ

กองทัพอากาศแห่งยุคอนาคตจำเป็นจะต้องมีผู้นำฉลาดและเป็นคนดีมาอย่างต่อเนื่องนับแต่กำเนิดมาในวงการทหารอากาศหลายสิบปีและมีทีมงานฉลาดอยู่รอบกายมาอย่างต่อเนื่องมายาวนานเช่นกันเท่านั้น!!!
ใครคนใดผู้ถูกปั้นให้เสมือนเป็นคนเก่งในปีท้ายๆ 1-2 ปีก่อนเกษียณอายุราชการนั้นถือว่ามิใช่ผู้นำตัวจริงของกองทัพอากาศ!!!

การสร้างผู้นำกองทัพอากาศปัจจุบันและอนาคตอันยาวไกลนั้นต้องกระทำตามรอยดังเช่นที่พระมหากษัตริย์(ร5 ร6)ท่านทรงเคยกระทำกันมาแต่อดีตครั้งกำเนิดกำลังทางอากาศ กล่าวคือ สร้างผู้นำกองทัพอากาศมาจากบุคคลผู้มีความชาญฉลาดทางด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์-มีกล้าหาญในการทำการบินและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงบริบทขององค์การ-ผ่านการศึกษามาจากต่างประเทศมาพอสมควร/มีความกระจ่างในภาษา/ในกิจการต่างประเทศ-ฉลาดเฉลียว/มีความคิดสร้างสรรค์/มีวิสัยทัศน์-มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่

เป็นผู้นำสามารถนำพากระทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ และนำพาไปยังในที่ที่ไม่เคยไป !!!

“เสืออากาศ24/7”

error: Content is protected !!