วันอาทิตย์, 4 มิถุนายน 2566

State Quarantine ระยะ 3

01 ก.ย. 2020
333

“ครม.บิ๊กตู่” อนุมัติ งบกลาง 883 ล้านบาท ให้กลาโหม เป็นค่าใช้จ่ายทำพื้นที่กักกันโรคโควิดฯ State Quarantine ระยะ 3
เป็นค่าใช้จ่ายทำพื้นที่กักกันSQ 41,514 คน

เผย 7มีนาคม -30มิถุนายน63 ใช้ SQ 33 แห่ง รองรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศกักกันตัว 27,977 คน
เผย ระยะที่ 1 มี 4,200 คน ใช้งบฯ 95 ล้านบาท
ระยะที่ 2 มี 4,200 คน วงเงิน 97ล้านบาท รวม 8,400 คน วงเงิน 192 ล้าน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2563 เพิ่มเติม งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น วงเงิน 883ล้านบาท ให้กับสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการจัดทําพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ในส่วนของสถานที่เอกชน สําหรับแก้ปัญหาการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ระยะที่ 3

ซึ่งเป็นไปตามมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำหนดให้คนไทยทุกคน ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จะต้องเข้าพัก ณ พื้นที่ กักกันโรคแห่งรัฐทันทีเป็นเวลา 14 วัน

สำหรับการดําเนินการที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 7มีนาคม ถึงวันที่ 30มิถุนายน 2563 ได้จัดตั้งพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ โดยใช้สถานที่ราชการ จํานวน 2 แห่ง และโรงแรมเอกชน จํานวน 31แห่ง รองรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการกักกันตัวในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ จํานวน 27,977 คน

ซึ่งที่ผ่านมาในส่วนของกระทรวงกลาโหม ได้รับการจัดสรร งบกลาง รายการเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น

สําหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการจัดทําพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ ระยะที่ 1 จํานวน 4,200 คน วงเงิน 95 ล้านบาท บาท

และระยะที่ 2 จํานวน 4,200 คน วงเงิน 97ล้านบาท รวมจํานวนทั้งสิ้น 8,400 คน วงเงินรวม 192 ล้านบาท

ยังเหลือที่ยังไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนอีกจำนวน 19,577 คน

ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งประมาณการจํานวนคนไทยในต่างประเทศที่มี ความประสงค์เดินทางกลับประเทศไทยทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม ถึงวันที่ 31สิงหาคม 2563 ที่สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกได้สํารวจล่าสุดมีจํานวน 22,470 คน

โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาตรการการผ่อนคลายการควบคุมโรค และมาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศต้นทาง

กระทรวงกลาโหมจึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการ จัดทําพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ ส่วนที่ยังไม่ได้รับงบประมาณรวมทั้งสิ้น จํานวน 42,047 คน วงเงิน 902 ล้านบาท

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี มีบัญชาเห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมใช้จ่ายงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 883 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจัดทำพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐจำนวน 41,514 คน

สำหรับรายละเอียดค่าใช้จ่ายแยกเป็นดังนี้คือ ค่าตอบแทนบุคลากร 32 ล้านบาท ,
ค่าเช่าที่พักและค่าอาหารของเจ้าหน้าที่ 91 ล้านบาท ,
ค่าเช่าที่พักและค่าอาหารของผู้ถูกกักกันโรค 747 ล้านบาท
, ค่าวัสดุการแพทย์ 621,000 บาท
,ค่าจ้างเหมา 8 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายยานพาหนะในภารกิจโควิด-19 จำนวน 2.9 ล้านบาท

error: Content is protected !!