“เสืออากาศ 24/7”
สุดทน!
ภัยพิบัติ น้ำท่วม ซ้ำซาก
หลังเห็น น้ำป่าถล่ม หลายจังหวัด
แล้วก็แก้ปัญหาเหมือนเดิม
ซัด “ขายผ้า เอาหน้ารอด”
แค่“แจกสิ่งของบรรเทาทุกข์”
เสมือนว่า ได้เอาใจใส่ดูแลผู้ได้รับความเดือดร้อนให้ดูดี ในภาพการเมือง เท่านั้น
เห็นสภาพความเดิอดร้อนของชาวบ้านจากน้ำป่าท่วม ในหลายจ้งหวัด ตอนนี้ “เสืออากาศ24/7” ทนไม่ไหว เขียนบทความด่วนๆ ซัด เป็น ความล้มเหลวที่ซ้ำซาก
“ภัยพิบัติที่ซ้ำซาก : ท่วมจัดซ้ำซาก-แล้งจัดซ้ำซาก ที่ไม่เคยเปลี่ยนวิธีคิด/ไม่เคยเปลี่ยนวิธีการ”
ก ท่วมจัด/เสียหายจัด(ซ้ำซาก)
อุบลราชธานี
แพร่
น่าน
สุโขทัย
พิษณุโลก
ข แล้งจัด(ซ้ำซาก)
ทั่วทั้งประเทศไทย
วิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรม-เทคโนโลยีสารสนเทศ ++ ปัญญาไทย…สามารถช่วยแก้ปัญหาได้
เพียงแต่ “อำนาจ” ต้องถูกใช้บน “เทคโนโลยี/ปัญญาไทย-มาก” กับ “งบประมาณ-ไม่มากนัก”
เราคนไทยแก้ปัญหา “ท่วมจัด-แล้งจัด” กันอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติกันจริงหรือไม่???
นี่คือคำถาม
ฤาเพียงแค่ว่า “ขายผ้า เอาหน้ารอด” ด้วยการ “แจกสิ่งของบรรเทาทุกข์” ให้กับผู้ประสบภัยเป็นครั้งคราวให้เสมือนว่าได้ทำหน้าที่เอาใจใส่ดูแลผู้ได้รับความเดือดร้อนให้ดูดีในภาพการเมือง มิให้ประชาชนลุกขึ้นด่าว่า..เท่านั้น
วิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ
-มีป่าเขา/มีต้นไม้ น้ำไม่ท่วมหลากในหน้าฝน – น้ำไม่แล้งในหน้าแล้ง (มันเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติที่เกิดมีมานานนับล้านๆๆปี)
-มีเส้นทางน้ำ/มีแหล่งน้ำ น้ำมีใช้ตลอดปี
-ไม่มีป่า/ไม่มีต้นไม้ น้ำ(สีแดงข้น)หลากลงที่ต่ำบ่าท่วมเมืองทันที–หมดสิ้นฝนก็แห้งผากทันทีอันหมายถึงเกิดความแห้งแล้งทันที
-เส้นทางน้ำตื้นเขิน/แหล่งน้ำแห้งขอด ตะกอนดินทับถมจนหมดสภาพความเป็นเส้นทางน้ำ/หมดสภาพความเป็นแหล่งน้ำ
ตรรกะในการแก้ปัญหา
ป่าเขามีต้นไม้เหลืออยู่น้อย = ฝายหิน/ฝายแม้วจะต้องมีมากมหาศาล + เขื่อนขนาดกลางต้องมีพอดี + เขื่อนขนาดใหญ่ต้องพอมีตามความเหมาะสม
-ฝายหิน/ฝายแม้ว มีอยู่ทุกลำธารเล็กตั้งแต่ยอดเขาจนถึงตีนดอย
ฝายหิน/ฝายแม้วจำนวนมากต้องมีอยู่ในป่าเขาสอดแทรกในป่าไม้เป็นจำนวนมากมหาศาล-ราคาต่อหน่วยไม่แพง รวมต้นทุนแล้วใช้เงินไม่มากนัก
ทว่าได้ผลเป็นเลิศ เนื่องจากน้ำจะถูกเก็บอยู่บนพื้นที่สูงตลอดทั้งปี-น้ำไหลซึมลงเข้าสู่ชั้นใต้ดิน/สู่ใต้ภูเขาเป็นน้ำใต้ดินได้เป็นปริมาณมาก(ไม่ต่างกับการมีป่าเขา/มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์คล้ายเมื่อยุคอดีต)
ฝายหิน/ฝายแม้วจำนวนมากสามารถชะลอน้ำจำนวนมากหลายล้านๆๆลูกบาศก์เมตรมิให้ไหลมารวมตัวกันเป็นมวลน้ำขนาดใหญ่หลายพันล้านลูกบาศก์เมตรภายใน1-2-3 ชม ที่ก่อเกิดเป็นปรากฎการณ์น้ำท่วมชุมชน/ท่วมเมืองฉับพลัน
ฝายหิน/ฝายแม้วสร้างได้ง่ายภายใต้การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน/ใช้แรงงานมนุษย์(คนไทย67ล้านคน)โดยใช้วัสดุธรรมชาติ/ใช้วัสดุท้องถิ่น..ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณก็ยังได้ (ใช้อำนาจ+ใช้แรงงาน+ใช้ปัญญาไทย) ฝายหิน/ฝายแม้วจึงมีราคาถูกยิ่งหากเปรียบเทียบราคากับการสร้างเขื่อนขนาดกลาง/ขนาดใหญ่
ฝายหิน/ฝายแม้วเกือบไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา มันเป็นระบบธรรมชาติที่อยู่ติดกับธรรมชาติ
ฝายหิน/ฝายแม้วมีบทบาทอย่างมากในการปล่อยน้ำลงสู่เขื่อนขนาดกลางและสู่เขื่อนขนาดใหญ่เพื่อเก็บเป็นน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคเพื่อการการดำรงชีพและเพื่อการอุตสาหกรรมและเพื่อกิจการอื่นๆ
-เขื่อนขนาดกลาง : เขื่อนดิน-เขื่อนคอนกรีต-เขื่อนสร้างจากวัสดุอื่นๆ ขวางตามเส้นทางน้ำลำคลองขนาดกลาง(ซึ่งเกิดมาจากหลายๆร้อยหลายพันลำธาร/ลำคลองมารวมกัน)
เขื่อนขนาดกลางพังทลายเกือบทุกครั้งหากปริมาณน้ำหลากมีมากเกินความจุกับการระบายที่เขื่อนขนาดกลางจะสามารถรับได้ (เกิดขึ้นบ่อยครั้งใน จ สกลนคร – จ แพร่…)
เขื่อนขนาดกลางพังทลายลงมาคราใดนั้นก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันก่อความเสียหายเป็นมูลค่ามากมายมหาศาล ก่อความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินมีมากเกินกว่าราคาค่าสร้างเขื่อนหลายร้อยหลายพันเท่า
เขื่อนขนาดกลางมีราคาค่าก่อสร้างไม่ถูกนัก(มีราคาแพงก็ว่าได้-หากเปรียบเทียบกับการสร้างฝายหิน/ฝายแม้ว) -ราคาค่าปรนนิบัติก็แพงมิใช่น้อย
เขื่อนขนาดกลางล้วนถูกสร้างโดยใช้ปัญญาต่างชาติ/ใช้เครื่องมือของชาวต่างชาติที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น ทั้งนี้ เขื่อนขนาดกลางพังลงมากมายอันเนื่องมาจากว่าคนไทยไม่มีปัญญามากพอในการดูแลรักษามันและไม่มีเงิน(งบประมาณ)มากพอในการรักษาสภาพของมัน
-เขื่อนขนาดใหญ่ : สร้างด้วยคอนกรีต มีขวางอยู่บนเส้นทางน้ำขนาดใหญ่
เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทยไม่เคยเก็บน้ำไว้มากพอตามการออกแบบทางวิศวกรรมเนื่องจากไม่มีฝายหิน/ไม่มีฝายแม้วเป็นแหล่งกักเก็บน้ำต้นน้ำ ประการสำคัญที่สุดคือไม่มีป่าเขา/ไม่มีต้นไม้สำหรับซึมซับน้ำ
เขื่อนขนาดใหญ่กระทำได้อย่างเดียวยามน้ำหลาก คือ ปล่อยน้ำทิ้งก่อนที่น้ำจะท้น (เพื่อเอาตัวรอดจากปรากฎการณ์เขื่อนแตก)
เขื่อนขนาดใหญ่ถูกสร้างโดยใช้ปัญญาต่างชาติ/ใช้เครื่องมือของชาวต่างชาติที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ คนไทยเราแตะต้องมันไม่ได้มากนัก สิ่งอุปกรณ์/สิ่งของเครื่องใช้ในเขื่อนขนาดใหญ่(เขื่อนชลประทาน/เขื่อนไฟฟ้า)ล้วนเป็นสินค้านวัตกรรมที่คิดค้นผลิตสร้างมาด้วยปัญญาของชาวต่างชาติทั้งสิ้น
เขื่อนขนาดใหญ่จะมีประโยชน์มากที่สุดก็เมื่อเรามีป่าเขา/มีป่าไม้ – มีฝายหิน/ฝายแม้วจำนวนมากมหาศาลในทุกลำธาร + มีเขื่อนขนาดกลางในจำนวนพอดีในลำคลอง + มีเขื่อนขนาดใหญ่พอเพียงในทุกแม่น้ำ
ป่าเขา/ป่าไม้ + ฝายหิน/ฝายแม้ว + เขื่อนขนาดกลาง + เขื่อนขนาดใหญ่ ล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติทั้งสิ้น
มันอยู่ที่ว่าคนไทยจะมีความเชี่ยวชาญ : เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนาวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติกันมากน้อยเพียงใด???เท่านั้น!!!
ความล้มเหลวที่เกิดซ้ำซากกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยล้วนเกิดจากความไร้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติทั้งสิ้น อันหมายถึงขาดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรม-เทคโนโลยีสารสนเทศนั่นเอง !!!
…………..”เสืออากาศ 24/7”……,,