ทัพฟ้า
เร่ง สร้าง “น้องบุญอุ้ม”
เครื่องยกศพ
เพิ่ม หลัง รพ. ร้องขอ
แต่ ปรับแผน ใช้ยก ผู้ป่วยติดเตียง แทน ศพผู้ป่วย โควิดฯ
แนะ รัฐ ต่อยอดนวัตกรรม ที่ ทอ.คิด ช่วงCoViD หลายอย่าง มาผลิต ใช้ต่อได้
“เสืออากาศ 24/7”
เผย โรงพยาบาล หลายแห่ง ขอให้ทอ. สร้าง “น้องบุญอุ้ม” เครื่องยกศพ ให้ เพราะเอาไว้ใช้ยกผู้ป่วยติดเตียง ได้ด้วย นอกเหนือจากใช้ยกศพ ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยติดเชื้อ โควิดฯ แต่ ศพ ผู้ป่วย ทั่วไปด้วย…..เตรียมสร้างอีก 10 เครื่อง แต่คงไม่อาจ ทำแจกได้ครบทุกรพ. ที่มีเป็นพัน เผย ต้นทุนเครื่องละ 25,000-40,000 บาท แนะรัฐ ควรส่งเสริมเอกชน ให้ผลิต น้องบุญอุ้ม ให้รพ.ต่างๆ ถือว่า ช่วยเศรษฐกิจ หลังโควิดฯ ด้วย เพราะถือเป็น ภูมิปัญญาไทย
.
“เสืออากาศ24/7” คอลัมนิสต์ นายทหารอากาศ เขียนบทความ เล่าเรื่อง “น้องบุญอุ้ม” เครื่องยกร่าง ยกศพ ที่ กรมช่างอากาศ สร้างขึ้น เพื่อใช้ยกศพ ผู้ป่วยโควิดฯ ตามคำร้องขอของ รพ. ที่ชายแดนใต้ ว่า ได้ใช้ประโยชน์อย่างมาก แม้ไม่ได้มี ศพผู้ป่วยโควิดฯ แต่ใช้ เคลื่อนย้าย ผู้ป่วยติดเตียง ได้เป็นอย่างดี
กำเนิด “น้องบุญอุ้ม” ชื่อเดิมเรียกกันว่า “เครื่องยกศพ”
ถือกำเนิดมาจากความคิดเกี่ยวกับการผลิตสร้างเครื่องมือสำหรับ “ยกศพ” ของผู้เสียชีวิตด้วยโรค Covid-19 ใน3จ.ชายแดนใต้ ให้กับโรงพยาบาลใน 3 จชต
อันเนื่องมาจากว่า คราใดที่มีผู้เสียชีวิตจากโรค Covid-19 แล้วก็จะเป็นการยากยิ่งสำหรับน้องๆพยาบาล กับเจ้าหน้าที่ตัวเล็กๆที่จะเข้าไปทำการยกศพเพื่อบรรจุเข้าถุงศพป้องกันมิให้เชื้อไวรัส Corona แพร่กระจายออกไปอย่างไร้การควบคุม
การยกศพผู้เสียชีวิตจากโรคCovid-19นั้นเป็นการยากยิ่ง-มีขั้นตอนการดำเนินการมากยุ่งยากซับซ้อน-ต้องใช้น้องๆพยาบาลกับเจ้าหน้าที่ตัวน้อยๆรวมกันอย่างน้อย8คนในการจัดการ
ยิ่งศพใดมีขนาดใหญ่น้ำหนักมากเกินกว่า130กก ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องใช้คนเพิ่มมากขึ้นซึ่งก็ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์สวมใส่ป้องกันการติดเชื้อในปริมาณมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่มากมายสิ้นเปลืองตามมา
การยกศพ ต้องกระทำด้วยความละเอียดรอบคอบใช้เวลานานซึ่งทำให้น้องๆพยาบาลกับเจ้าหน้าที่ตัวน้อยๆต้องกังวลอยู่กับโอกาสที่จะติดเชื้อ ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานถดถอยลง ไม่เป็นผลดีต่อระบบสาธารณสุข
กองทัพอากาศ. โดยกรมช่างอากาศได้คิดค้นพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้าง “เครื่องยกศพ” หรือ “น้องบุญอุ้ม” ในราคาที่ไม่แพง จนสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย
หลังจากนั้นก็ได้นำไปเสนอให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ใน3จชต ได้พิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานเป็นการเบื้องต้น
ซึ่งต่อมาก็ได้มีการนำกลับมาปรับปรุงในบางประการ ในความต้องการเฉพาะที่ว่า “มิใช่เฉพาะเพื่อใช้ – ยกศพ- เท่านั้น
แต่จะใช้สำหรับ “ยกคนไข้ทั่วไป” ด้วย
ดังนั้น “เครื่องยกศพ” จึงต้องถูกปรับเปลี่ยนคุณลักษณะบางประการให้สามารถตอบสนอง ภารกิจดังกล่าวจนสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
ในการนี้ “เครื่องยกศพ” จึงได้รับการขนานนามใหม่ชื่อว่า “น้องบุญอุ้ม”
“น้องบุญอุ้ม” 1 เครื่อง ถูกนำส่งให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดภาคใต้ของไทยไปเรียบร้อยแล้ว
หลังจากการส่งมอบไปแล้ว. ก็มีเสียงตอบรับ จากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ว่า “สามารถใช้งานได้ดี และต้องการในจำนวนเพิ่มเติมอีกหลายเครื่อง”
โดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์(ใน3จชต )ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “จะนำไปใช้กับการเคลื่อนย้าย-ปรนนิบัติ ดูแลคนไข้ติดเตียง/คนไข้ติดเชื้ออื่นๆ”
ซึ่งคนไข้ประเภทนี้มีอยู่ในทุกโรงพยาบาล
กองทัพอากาศ โดยกรมช่างอากาศจึงได้ระดมขีดความสามารถขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อเร่งทำการผลิตสร้าง “น้องบุญอุ้ม” เพิ่มเติมขึ้นมาอีกครั้ง10เครื่อง (เป็นอย่างน้อย)เพื่อแจกจ่ายให้ กับโรงพยาบาลใน 3 จชต และให้กับโรงพยาบาลทหารอากาศ ที่มีความจำเป็นต้องการนำไปใช้งานเร่งด่วน
โรงพยาบาลไทย
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย-วิทยาลัยแพทย์ รวม 22 แห่ง
โรงพยาบาลและศูนย์แพทย์(ไม่ผลิตแพทย์) 6 แห่ง
โรงพยาบาลศูนย์ 41 แห่ง
โรงพยาบาลส่วนกลาง 18 แห่ง
โรงพยาบาลส่วนภูมิภาคระดับศูนย์ 34 แห่ง
โรงพยาบาลทั่วไป 86 แห่ง
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 19 แห่ง
โรงพยาบาลชุมชน 723 แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล … แห่ง
โรงพยาบาลเฉพาะทาง 3 แห่ง
โรงพยาบาลสภากาชาดไทย 2 แห่ง
โรงพยาบาล กทม 2 แห่ง
โรงพยาบาลองค์กรส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง
โรงพยาบาลทหารบก 37 แห่ง
โรงพยาบาลทหารเรือ 9 แห่ง
โรงพยาบาลทหารอากาศ 13 แห่ง
โรงพยาบาลตำรวจ 4 แห่ง
โรงพยาบาลรถไฟ-ท่าเรือ-ไฟฟ้า-คลัง-ยุติธรรม-มหาชน รวม 6 แห่ง
รวมโรงพยาบาลทั้งสิ้น 1,052 แห่ง เชื่อว่าล้วนต้องการ “น้องบุญอุ้ม” ทั้งสิ้น
“น้องบุญอุ้ม” บนความต้องการในปริมาณ/ในจำนวนที่เพียงพอสำหรับโรงพยาบาลข้างต้น
ซึ่งหากสำรวจความต้องการอย่างแท้จริงแล้วเชื่อว่า อาจมีความต้องการรวมมากถึง 2,000-3,000 เครื่องเลยทีเดียว
กำเนิด “น้องบุญอุ้ม”ถูกสร้างขึ้นมาได้ง่ายในราคาไม่แพง บนคุณประโยชน์ทางการแพทย์มหาศาล โดยใช้ “ปัญญาไทย” ในการผลิตสร้าง ในการนี้ มิต้องพึ่งพาปัญญาของชาวต่างชาติแม้แต่น้อย
องค์ประกอบของ “น้องบุญอุ้ม” มีดังนี้-ชิ้นส่วนโลหะ-เครื่องกลไฟฟ้าหรือเครื่องกลทั่วไป-ชิ้นส่วนประกอบประเภทยาง(ยางพาราหรือพลาสติกก็ได้)-ชิ้นส่วนคอมโพสิต
ระบบที่ใช้-ระบบกลศาสตร์-ระบบสมองกล(มีหรือไม่มีก็ได้) -ระบบไฟฟ้า
ราคาต้นทุน -ประมาณ 25,000-40,000 บาท (แล้วแต่ Option)
การคิดค้นวิจัยพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้างรับรองการใช้งานสามารถกระทำได้ไม่ยาก สามารถผลิตสร้างทั้งหมดได้ในประเทศ จะผลิตสร้างในโรงงานขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ได้
Thai Sub Con เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีขีดความสามารถในการผลิตสร้างงานโรงงานสามารถ ลงมือดำเนินการได้ทันที โดยต่างมีเครื่องจักรโรงงานและเงินทุนตั้งต้น พร้อมลงมือทันที (เฉกเช่นกับที่กองทัพอากาศโดยกรมช่างทหารอากาศที่ได้ลงมือทำมาแล้วและกำลังจะผลิตสร้างต่อไปตามจำนวนที่ได้รับการร้องขอ)
(Thai Sub Con ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากเนื่องจากถูกสั่งลดการผลิต/เกือบไม่มีการผลิตเนื่องจากผู้สั่งจ้างผลิตซึ่งก็คือนักลงทุนชาวต่างชาติ(ญี่ปุ่น)ยกเลิก/ลดสั่งผลิตลงตามสภาพเศรษฐกิจกรณีสงครามโรคระบาดCovid-19)
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า รัฐโดยกระทรวงสาธารณสุข กับบรรดาโรงพยาบาลทั้งหลาย(ภายใต้การจัดการประเทศไทยในสถานการณ์สงครามโรคระบาดCovid-19)ต่างต้องช่วยกันสนับสนุนซื้อหานำเอา “น้องบุญอุ้ม” ไปใช้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง
หากเป็นดังนี้แล้ว วงจรเศรษฐกิจนับตั้งแต่การคิดค้นวิจัยพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้าง(ต้นแบบ)รับรองการใช้งาน-จนถึงการใช้งาน “น้องบุญอุ้ม” ก็จะครบวงจรซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยทางด้านปัจจัยดำรงชีพที่4 ยารักษาโรค/เวชภัณฑ์จะสามารถได้เติบโตเจริญก้าวหน้าได้ (มูลค่าเศรษฐกิจ “น้องบุญอุ้ม” = 2,000-3,000 x 25,000-40,000 = 50,000,000 – 75,000,000 บาท)
หากประเทศไทยลงมือผลิตยา เวชภัณฑ์ – สร้างเครื่องมือแพทย์สำหรับการแพทย์ในทุกแขนงสาขาในประเทศไทยก็เชื่อว่าจะเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล… (500,000,000,000 – 1,000,000,000,000 บาท) ก็จะหมายถึงว่าประเทศไทย จะได้มาซึ่งขีดความสามารถในการให้บริการด้านการแพทย์/พยาบาลที่ดี/นำมาซึ่งระบบสาธารณสุขที่ดีซึ่งเป็นต้นน้ำของความอยู่ดีกินดี มีสุขของคนไทยเราทั้งชาติกับเป็นต้นน้ำมีระบบเศรษฐกิจที่เติบโตในประเทศเป็นของตนเองนั่นเอง
ปัญญาไทย- นอกเหนือจาก “น้องบุญอุ้ม” แล้ว !!!
กองทัพอากาศในห้วงสงครามโรคระบาด Covid-19 ได้ใช้ขีดความสามารถทางวิศวกรรม(อากาศยาน: Sensor-C2)ทำการคิดค้นวิจัยพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้างรับรองการใช้งานนวัตกรรมทางด้านการแพทย์/พยาบาลมาใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Corona ดังนี้
-Thermo Scan “น้องบุญสุข” ตรวจอุณหภูมิร่างกาย
-หุ่นยนต์ “น้องถาดหลุม” ส่งอุปกรณ์การแพทย์
-เครื่องช่วยหายใจ “น้องบุญช่วย” ปั๊มอากาศเข้าปอด
-ชุดคลุมเตียงคนไข้ความดันลบ “น้องฝาชี” ดูดอากาศติดเชื้อเข้าฟอกให้สะอาด
-Taxi Bulkhead Beerier สร้างระยะห่างคนขับแท๊กซี่-ผู้โดยสาร
-ที่กดแอลกอฮอล์ล้างมือแบบเหยียบ “อินทรีย์อนามัย” ทำความสะอาดมือ
-Air Track “น้องบุญตาม” ติดตามกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ
-โดรนกระจายเสียง “ต้องจักจั่น” กระจายเสียงแจ้งเตือนมิให้ผู้คนจับกลุ่มพร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของโรค Covid-19
-เครื่องปันสุขแบบจดจำใบหน้า “Give & Take” แจกเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้เดือดร้อนพิษCovid-19
-เครื่องATMแจกข้าวสารแบบจดจำใบหน้า แจกข้าวสารแก่ผู้เดือดร้อนพิษCovid-19
บรรดาสินค้านวัตกรรมจาก “ปัญญาไทย” ทางด้านการแพทย์/พยาบาลข้างต้นที่มันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยซึ่งสามารถถูกคิดค้นวิจัยพัฒนาผลิตสร้างทดลองทดสอบผลิตสร้าง(ต้นแบบ)รับรองการใช้งาน-ใช้งานเต็มรูปแบบในทุกบริบททางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยได้อย่างครบวงจร
โดยมันเป็นผลผลิตมาจากฝีมือคนไทยเราเอง เชื่อว่าเราคนไทยสามารถสร้างมันทั้งหมดขึ้นมาในประเทศไทยได้อย่างไร้ข้อจำกัด/ไร้ขีดจำกัด
ผลิตสร้างขึ้นมาแล้วแรกเริ่มนั้น : รัฐก็สมควรจะต้องเป็นผู้ซื้อในนามของหน่วยราชการ(โรงพยาบาล) – ซึ่งบริษัทผู้ผลิต/โรงงานฯของบรรดา SME , Start Up ก็จะมีคำสั่งจ้างผลิตซึ่งก็จะมีรายได้ตามมา – ตำแหน่งงานชั้นดีมีเกิดขึ้นในจำนวนมากมายในประเทศไทย คนไทยก็จะไม่ยากจน …รัฐบาลก็มิต้องจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเหลือ ..ปัญหานักศึกษาตกงานหลังจากจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาก็จะไม่มีเกิดขึ้น คนไทยก็จะไม่ขาดโอกาสทางสังคม คนไทยก็จะไม่เข้าป่าบุกรุกป่าเผาป่าหากินเพื่อความอยู่รอดไปวันหนึ่งๆ
เราคนไทยนอกเหนือจากการผลิตสร้างนวัตกรรมทางด้านปัจจัยดำรงชีพที่4 ยารักษาโรค ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นซึ่งมูลค่าของมันบนการประมาณการใช้งานในโรงพยาบาลจำนวน 1,052+ แห่ง = ก็มีมูลค่า 500,000,000,000 – 1,000,000,000,000 บาท และ/หรือมากกว่านั้น)
แต่หากเราคนไทย : สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา-สถาบันวิจัย-รัฐสภา-รัฐบาล-กระทรวง/กรม-เอกชน/SME/Start Up; Thai Sub Con ต่างรวมพลังร่วมใจร่วมมือกันทำการผลิตสร้างนวัตกรรมทางด้านปัจจัยดำรงชีพ8ประการ/พลังงานรอบตัวอย่างครบถ้วนสมบูรณ์(โดยคนไทยฉลาด-บนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์)ขึ้นมาเป็นของไทยเองสำหรับใช้ในทั่วทุกบริบท/ในทุกหัวระแหงของประเทศไทยภายใต้จำนวนประชากร 67 ล้านคน แล้วก็เชื่อได้ว่าน่าจะมีสินค้านวัตกรรมนานาชนิดในจำนวนหลายล้านรายการ-มูลค่าประมาณการมิได้ ( …,xxx,000,000,000,000 – ….,yyy,000,000,000,000 บาท )
ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยอันหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งชาติกับระบบเศรษฐกิจไทยคงเติบโตจนยากที่จะหยุดยั้ง(ไม่ต่างกับจีนที่เศรษฐกิจก้าวกระโดด)
“น้องบุญอุ้ม” จากผลพวงของสงครามโรคระบาดCovid-19 สมควร ถูกยกเป็นกรณีศึกษาต้นแบบ บนความต้องการสินค้าและนวัตกรรมของประเทศไทย
สำหรับใช้ในการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยทั้งชาติกับสำหรับสร้างระบบเศรษฐกิจไทยให้เติบโตไปข้างหน้าบนการยืนบนขาของเราเอง
“เสืออากาศ 24/7”