วันอาทิตย์, 4 มิถุนายน 2566

มอง เกมฟื้นฟู ….การบินไทย เทียบ ….กลยุทธ์ ร้านไก่ย่างริมถนน

 

“เสืออากาศ 24/7” ร่ายยาว ชำแหละ “การบินไทย” ที่ผ่านมา
ไม่ควรเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ขาดคุณสมบัติหลายข้อ…พร้อมกำหนด “นิยาม”ความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ไม่ใช่แต่ซื้อเครื่องบิน ใช้แต่ปัญญาต่างชาติ ทั้งๆที่ควรสร้างจาก ภูมิปัญญาคนไทยเอง สะกิด ถ้ารัฐ เข้าฟื้นฟู แล้วยังทำแบบเดิม ก็ไม่ดีขึ้น แนะทำธุรกิจขนส่ง เพิ่มด้วย ชี้ ต้องเปิด “เกม” อุตสาหกรรมการบินยุคใหม่ เทียบ อย่าทำเหมือน “ร้านไก่ย่างริมถนน “ ร้านสุดท้าย แต่ให้เป็น “ร้านไก่ย่าง ริมถนน”ร้านแรก

“เสืออากาศ 24/7” ที่คนในทอ. รู้จักกันดีว่า เป็นใคร…เขียนบทความ ยาว เรื่อง “สายการบินแห่งชาติ” แชร์กันในกองทัพอากาศ อีกครั้ง หลังจากที่เขียนชำแหละ ปัญหาในการบินไทย มาหลายบทความ ที่สะท้อนความรู้สึกและมุมมอง ของ ทหารอากาศ ในฐานะที่ การบินไทย ก่อกำเนิด จากกองทัพอากาศ

โดยระบุว่า …ความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ต้อง”กำเนิด”จากองค์ประกอบ ดังนี้
0_ปัญญาไทย
1_ความคิดริเริ่มของคนไทย
2_การอุทิศทุ่มเทของคนไทย
3_จิตวิญญาณของความเป็นไทย
4_ผลประโยชน์โดยรวมของคนไทย
ถึงจะถือว่าเป็น “สายการบินแห่งชาติ” อย่างแท้จริง

ปัญญาไทยเพื่อความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”
_ปัญญาไทยทางด้านการบินการเดินอากาศแห่งยุคสมัยที่ต้องเปิด “เกม” อุตสาหกรรมการบินยุคใหม่ขึ้นมาใหม่ ที่ต้องให้เสมือนกับการเริ่มดำเนินกิจการ “ร้านไก่ย่างริมถนนร้านแรก” เพื่อความเจริญก้าวหน้าในการประกอบกิจการการบินในเวทีโลก

มิใช่ตั้งร้านไก่ย่างริมถนน ให้เป็นร้านสุดท้าย ปลายถนน เสมอ ที่เกิดจาก “ความคิดลอกเลียนแบบกันทำ” จนกระทั่งประสบปัญหา “กอดคอกันตาย”

ในท้ายที่สุด ดังเช่นร้านไก่ย่างริมถนนที่เรียงราย

ปัญญาไทยทางด้านอากาศยานของไทยต้องมีเพื่อสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/นวัตกรรมทางด้านอากาศยานไทย-ที่เราเคยสร้างขึ้นมาด้วยปัญญา/ภายใต้ความเพียรพยายามให้เป็นของเราเองเมื่อปี 2454-2480

(ปัจจุบันและแม้แต่อนาคตนั้น ยังมองไม่เห็นเค้าลางว่าคนไทยยุคปี2500-2563จะมีคนไทยคนใดเพียรพยายามคิดสร้างอากาศยาน(บางส่วน)ให้มันเป็นผลผลิตของคนไทยเราเอง เพื่อใช้ประโยชน์มันในสถานะเป็น “สายการบินแห่งชาติ” อย่างสมบูรณ์แบบ

ปัญญาไทยทางด้านการบิน/การเดินอากาศจำเป็นยิ่งที่ต้องมีเป็นของเราเองเพื่อเก็บเกี่ยว “ผลประโยชน์จากน่านฟ้าไทย” เพื่อความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”

ปัญญาไทยทางด้าน”การให้บริการรับส่งผู้โดยสาร” กับ “การขนส่งสินค้า” บนแผ่นดินไทยในสถานะเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคถือเป็นความท้าทายยิ่งที่จะสร้าง “สายการบินแห่งชาติ” ขึ้นมาด้วยปัญญาของคนไทยเราเอง

(ความเป็น“สายการบินแห่งชาติ” จะต้องเป็นแหล่งรวมปัญญาของคนฉลาดผู้มีทักษะทางด้านการบิน/การเดินอากาศ/ภูมิประเทศ-มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางการบิน/ผลประโยชน์ของชาติ-มีคุณธรรมจริยธรรมในหัวใจ-มีจิตวิญญาณในความเป็นชาติ-มีวินัยในตนเองและสังคม-มีความขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างดี คำที่ว่า “สายการบินแห่งชาติ” จึงจะมีความเหมาะสม)

(ข้อเท็จจริง : คนไทยเป็นชนชาติฉลาดเป็นเลิศอันเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหาร-สัตว์แมลงที่ถูกใช้กินเป็นอาหาร ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิศาสตร์ชั้นเลิศเหมาะแก่การอยู่อาศัยและเหมาะแก่การพัฒนาให้มีความเป็นเลิศตามปัญญาคนไทย ประเทศไทยมีแหล่งอาหารชั้นดี แต่ก็มิได้หมายความว่าประเทศไทยจะต้องเป็น “ประเทศเกษตรกรรม” เท่านั้น

ประเทศไทยต้องการเกษตรกรฉลาดจำนวนไม่มาก สำหรับดำเนินกิจการด้านการเกษตรกรรมฉลาด บนผืนดินที่อุดมสมบูรณ์

คนไทยฉลาดที่เหลืออีกจำนวนมากมายสามารถใช้ปัญญาอันชาญฉลาดของเขาทำการลงมือสร้างอุตสาหกรรมฉลาดกับเทคโนโลยีสารสนเทศฉลาด/ดิจิตอลในการคิดค้นวิจัยพัฒนาทดลองทดสอบรับรองการใช้งานบรรดาปัจจัยดำรงชีพ8ประการ/พลังงานรอบตัว นั่นหมายถึง ปัจจัยดำรงชีพที่6 ยานพาหนะ: ด้านมิติอากาศ(อากาศยาน-เครื่องบิน- UAV : Fix Wing , Rotor , Others /ยานอวกาศ)ขึ้นมาเป็นของไทยเราได้อย่างแน่นอน ขาดก็แต่เพียงการนำพาโดยผู้นำเท่านั้น

จอมพลสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” พระองค์ท่านได้เคยริเริ่มลงมือผลิตสร้างอากาศยาน/เครื่องบินมาแล้วกว่า119ปีที่แล้ว

ปัจจุบันไม่มีคนไทยคนใดสืบทอด)

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”
_ความคิดฉลาดทางด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์/วิศวกรรมของคนไทยกว่า 2.0 ล้านคนเมื่อหลายทศวรรษที่แล้ว (6.7ล้านคนจากประชากร67ล้านคนในปัจจุบัน)ที่สามารถคิดได้อย่างมีตรรกะ/มีเหตุมีผลบนทิศทางของสภาพโลกาภิวัตน์ที่ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมด้านการบิน(การสร้างเครื่องบิน)/การเดินอากาศ(เส้นทางบินเหนือน่านฟ้าไทยและภูมิภาค)ขึ้นมาเป็นของไทยเราเอง ที่เราสามารถประยุกต์ดัดแปลงมาใช้ในเชิงเศรษฐกิจกับสังคม(รวมถึงในเชิงพลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆอีก7ประการ)ได้อย่างสอดรับกับยุคสมัยปัจจุบันและสืบเนื่องไปจนถึงยุคอนาคตข้างหน้า(50-100ปีข้างหน้า)

เฉกเช่นที่บรรพบุรุษไทยเคยลงมือกระทำกันมาเมื่อ100ปีเศษ(โดยมิได้ลอกเลียนแบบใคร)ที่ถือว่าได้สร้างผลประโยชน์แก่บ้านเมืองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันถือได้ว่าประเทศไทยยังไม่มีผู้หาญกล้า/ไม่มีผู้อุทิศทุ่มเท/ไม่มีผู้เพียรพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/นวัตกรรมด้านการบิน/การเดินอากาศขึ้นมาบนผืนแผ่นดินไทยแห่งสุวรรณภูมิ)

ด้วยเหตุนี้ ความเป็น”สายการบินแห่งชาติ” จึงไม่มีปรากฎในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม เรากระทำกันเพียงขนานนามว่าเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ตามอำเภอใจ/ตามความคิดผิวเผินกันเท่านั้น

“สายการบินแห่งชาติ” ที่เราคนไทยได้นำไปกล่าวอ้างนั้นมันเป็นเพียงนามธรรมที่ผู้รับผิดชอบหวังนำกิจการไปอิงติดกับเงินภาษีราษฎรภายใต้อำนาจของกระทรวงการคลังกับอำนาจบางส่วนของกระทรวงคมนาคมเท่านั้น

การใช้อากาศยานรูปแบบใหม่แห่งยุคอนาคต (UAV : Fix Wing , Rotor , Others) ที่ปลอดภัย/ประหยัด/สะดวก/เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความจำเป็นซึ่งต้องใช้ความฉลาด/ใช้ความอุทิศทุ่มเท/ใช้ความเพียรพยายามสูงของคนไทยเราเองเพื่อสร้างความเป็น ”สายการบินแห่งชาติ” แห่งยุคอนาคตขึ้นมา

การให้บริการรูปแบบใหม่(รับส่งผู้โดยสารพิเศษ/ตามปริมาณนักเดินทางที่เหลืออยู่ในตลาดการเดินทางในปัจจุบัน-ขนส่งสินค้าพิเศษ/นวัตกรรมราคาแพง: ยาเวชภัณฑ์-เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ราคาแพง..)ที่เป็นยุคอุตสาหกรรมฉลาดบนยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ/ดิจิตอล ถือเป็นความท้าทายยิ่งที่คนไทยต้องกระทำให้สำเร็จเพื่อผลประโยชน์ของบ้านเมืองในอนาคตอีก50-100ปีข้างหน้า เพื่อความเป็น”สายการบินแห่งชาติ” อย่างแท้จริงด้วยปัญญาของคนไทยเราเอง

(การบิน/การเดินอากาศหวังเพื่อรับส่งผู้โดยสาร-รับส่งนักท่องเที่ยวราคาถูกบนการโปรโมท(Promote)การท่องเที่ยว(ราคาถูก)ภายใต้การล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติมูลค่าสูงนั้นเพื่อหวังให้เขาเหล่านั้นให้(หวนกลับ)เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย(ดังเดิมอีกครั้ง)/จ่ายเงินให้กับประเทศไทย(เหมือนเดิมอีกครั้ง)นั้นได้สิ้นสุดลงไปแล้วภายหลังสงครามโรคระบาดCOVID-19 ครั้งนี้

ในการนี้ การท่องเที่ยวชั้นดี(ราคาแพง)ในปริมาณเท่าที่เหมาะสมเท่านั้นที่ถือว่าจำเป็นยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจไทยที่ต้องถูกคิดค้นและกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ นั่นหมายถึงการกำหนดรูปแบบอากาศยาน/ที่นั่งบนอากาศยาน-การเดินทาง-การขนส่งสินค้า…(แผนยุทธศาสตร์ของความเป็น “สายการบินแห่งชาติ”)ต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ที่มันต้องแปลกแหวกแนวไปจากเดิมเพื่อเป็นหนทางเลือกใหม่บนบรรทัดฐานใหม่/New Norm – บนกิจวัตรประจำวันใหม่New Normal ที่ต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง

ในการนี้ การบิน/การเดินอากาศชั้นดีต้องถูกคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา มันต้องมิใช่วิธีการคิดแบบเดิมๆ)

ทั้งนี้ ก็เพื่อบันดาลให้เกิดมี ”สายการบินแห่งชาติ” ของไทยเราเองอย่างแท้จริง

(การบิน/การเดินอากาศรูปแบบปัจจุบัน: เครื่องบินขนาดใหญ่-น้ำหนักมาก-สิ้นเปลือง-ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกมากมายมหาศาล ที่เป็นผลิตดั้งเดิมของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม: ยุโรป/Airbus-อเมริกัน/Boeing -รัสเซีย/Sukhoi ยังถูกยื้อให้ยังคงมีอยู่ต่อไป เนื่องจากประเทศผู้ผลิตยังจำเป็นต้องดำรงอุตสาหกรรม/ดำรงตำแหน่งงานของคนในชาติของเขาไว้(อีกระยะเวลาหนึ่ง)

ประเทศผู้ผลิตอากาศยานต่างรู้ดีว่าไม่มีประเทศใดๆในโลกสามารถจะสร้างอุตสาหกรรมการบิน/การเดินอากาศมาเป็นคู่แข่งได้

ในการนี้ ประเทศผู้ผลิตอากาศยานยักษ์ใหญ่ จึงมิได้สนใจเรื่องกิจการการบินรับส่งผู้โดยสาร-ไม่สนใจเรื่องกิจการขนส่งสินค้ามากนัก ประเทศยักษ์ใหญ่เหล่านี้ต้องการผลิต/ดัดแปลง/ขายอากาศยานกับชิ้นส่วนอะไหล่ของมันเป็นหลักต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากมัน(ยังคง)พอสร้างรายได้ที่ดี(กว่า)

ขณะที่ประเทศทั่วโลกมิได้มีความคิดเช่นนั้น ประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศไทยยังคงคิดกระทำเปิดดำเนินการกิจการการบิน/การรับส่งผู้โดยสาร-ขนส่งสินค้าดังเช่นเดิมอยู่ต่อไปเนื่องจากไม่มีหนทางเลือกอื่น

ความเป็น”สายการบินแห่งชาติ” ของคนไทยในเชิงเปรียบเทียบถือได้ว่าได้หมดสิ้นลงไปแล้วในทุกมุมมอง)

(ยิ่งคนไทย: นักการเมืองไทย/นักปกครองไทย-ข้าราชการไทยด้วยแล้วยิ่งกระทำกันเพียงดำรงความคิดดั้งเดิมอยู่ต่อไปโดยไม่เคยคิดหาทางเลือกอื่น มูลเหตุเพราะว่าเราคนไทยไม่ได้ถูกสร้างให้เป็นนักคิดสร้างสรรค์ เราคนไทยชอบแห่ทำเกมตามที่ฝรั่งกำหนดกันเท่านั้น แม้บนเส้นทางหายนะที่สามารถมองเห็นได้ประจักษ์ชัด-เราก็ยังแห่กระทำตามอย่างไม่สะทกสะท้านต่อความพินาศในครั้งต่อไปที่ มันกำลังจะเข้ามาถึงในอีกไม่นาน สภาพการณ์ไม่ต่างจาก “ร้านไก่ย่างริมถนนที่ต่อแถวเรียงราย”)

(มองไปไกลถึงประเทศเยอรมนี : รัฐเยอรมันยังคงปกป้องLufthansa ไปอีกระยะเวลาหนึ่งเนื่องจากLufthansa มิใช่เป็นเพียงผู้ประกอบการบินทางด้านรับส่งผู้โดยสารเท่านั้น เยอรมันใช้Lufthansaในการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ราคาแพง-น้ำหนักน้อยไปขายทั่วโลก โดยที่Lufthansaนั้นใช้เครื่องบินAirbus(เป็นส่วนใหญ่)นั่นก็หมายถึงความจำเป็นที่รัฐเยอรมันต้องปกป้องอุตสาหกรรมอากาศยาน-อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ราคาแพง(Fein Technik)ที่ส่งไปขายทั่วโลก/ปกป้ององค์ความรู้ภูมิปัญญา/ปกป้องเทคโนโลยี/ปกป้องนวัตกรรมทางด้านอากาศยาน-ทางด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ราคาแพง(Fein Technik)ที่ต้องมีอยู่ต่อไป
รัฐเยอรมันจึงตัดสินใจอุ้มLufthansa อันถือว่าคุ้มค่าที่สุดในการอุ้มครั้งนี้ และคิดว่ารัฐเยอรมันคงจะอุ้มLufthansaไปอีกไม่นาน โดยรัฐเยอรมันจะอุ้มไปจนกว่าอุตสาหกรรมอากาศยาน/การบินรูปแบบใหม่เกิดขึ้นซึ่งก็ไม่น่าจะนานเกิน5ปีข้างหน้า โรงงานผลิตอากาศยานต้องถูกปรับเปลี่ยนโดยเร็ว-ตำแหน่งงานในโรงงานสร้างเครื่องบินถูกปรับเปลี่ยนโดยเร็ว…คนเยอรมันในโรงงานสร้างเครื่องบินต้องมีงานทำ/ไม่ตกงานและมีงานใหม่รองรับในกาลข้างหน้า)

การอุทิศทุ่มเทของคนไทยเกี่ยวกับการบิน/การเดินอากาศเพื่อความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”

คนไทยรุ่นหลัง(หลังปี2475)หามีจำนวนน้อยมากที่จะมีความมุ่งมั่นอุทิศทุ่มเทตนเอง/ที่จะลงมือสร้างอุตสาหกรรมการบิน/การเดินอากาศขึ้นมาให้เป็นของไทยเราเองเพื่อสร้างความเป็น ”สายการบินแห่งชาติ” ขึ้นมา

(คนไทยรุ่นหลัง(หลังปี2475)ติดกับหลงกลของฝรั่งมังค่า(ผู้ดูเหมือนว่ามีจิตใจโอบอ้อมอารี)ที่ได้ยื่นมือเข้ามามอบเครื่องบินแบบให้เปล่า/ให้การช่วยเหลืออุปถัมภ์เกี่ยวกับการบิน/การเดินอากาศให้กับประเทศไทยมาตลอดหลายทศวรรษ.. โดยหารู้ไม่ว่าจิตใจของฝรั่งมังค่านั้นแอบแฝงไว้ด้วยการครอบงำประเทศไทย/ครอบงำคนไทยอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งสุดท้ายฝรั่งก็สามารถกระทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ)

คนไทยหาได้มีกี่คนไม่ ที่จะอุทิศตนทุ่มเทสร้างปัญญาทางด้านการบิน/การเดินอากาศให้เป็นแก่นแกนสำหรับการพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างความเป็น”สายการบินแห่งชาติ” อย่างเป็นรูปธรรมดังเช่นแต่ก่อน

คนไทยหาได้มีกี่คนไม่ที่จะอุทิศตนทุ่มเทในการระดมปัญญาคนไทยฉลาด-มีทักษะสูงเข้ามาร่วมคิดค้นผลิตสร้างนวัตกรรมใหม่ใหม่ขึ้นมาโดยมิเคยคิดย่อท้อต่อความล้มเหลวที่เกิดมาจากการเสี่ยงต่อชีวิตกับเสี่ยงต่อความล้มเหลวในความร่วมมือเพื่อสร้างความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”ขึ้นมาในประเทศไทยให้จงได้

(พระยาเฉลิมอากาศ(สุนี สุวรรณประทีป-เด็กบ้านนนอกคอกนาจากจังหวัดสุพรรณบุรี)/คนไทยผู้หาญกล้าทำการบินเครื่องบินเป็นคนแรกของประเทศไทยผู้ซึ่งต่อมาได้สร้างประวัติศาสตร์การบินที่ยิ่งใหญ่ให้กับประเทศไทยจนคนไทยทั้งชาติโดยเฉพาะบรรดานักบินกับเจ้าหน้าที่ช่างอากาศ มิอาจลืมเลือนกันได้ ท่านได้บุกเบิกกิจการการบินทั้งทหาร-พลเรือนขึ้นมาให้กับประเทศไทย)

มันคงเป็นการยากยิ่งบนสภาพแห่งการอุทิศทุ่มเทร่างกาย-ปัญญาและจิตใจของคนไทยในยุคปัจจุบันที่จะลงมือสร้างความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”ขึ้นมาในประเทศไทย ความหวังเช่นนี้มันเลื่อนลอย/ห่างไกลความเป็นจริงสำหรับคนไทยในประเทศไทยในยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

จิตวิญญาณของคนไทยบนความเป็นไทยในการสร้างความเป็น”สายการบินแห่งชาติ”

ความมุ่งมั่นบนจิตวิญญาณของความเป็นคนไทยที่จะต้องเพียรพยายามสร้างสายการบินของตนเองขึ้นมาให้เป็น”สายการบินแห่งชาติ”ขึ้นมาเพื่ออวดศักดาความเป็นคนไทยให้ปรากฎแก่สายตาชาวโลก จิตวิญญาณนั้นถือเป็นความจำเป็นยิ่งสำหรับชนชาติไทย

คนไทยสมัยดึกดำบรรพ์บนจิตวิญญาณไทยได้สร้าง”ความเป็นไทย”ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมวิถีชีวิต/ศาสนา/ศิลปะ…รวมไปจนถึงบรรดาสิ่งของเครื่องใช้ทางด้านปัจจัยดำรงชีพ 4 ประการ (ปัจจัยดำรงชีพ8ประการ/พลังงาน) สำหรับคนไทยมายาวนาน คนไทยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขบนการพึ่งพาตนเองมาจนถึงทุกวันนี้

จิตวิญญาณของคนไทยในกาลต่อมาได้หลุดลอยไปจากตัวของคนไทยในภายหลังที่ชาติตะวันตก(ประชาธิปไตย-เสรีนิยม/ทุนนิยม)ได้เข้ามาครอบงำประเทศไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475เป็นต้นมา

หลังจากนี้แล้วจิตวิญญาณไทยไม่มีหลงเหลือ คนไทยเราพึ่งพาปัญญาต่างชาติมาโดยตลอด จนกระทั่งลืมคุณค่าของปัญญาไทยที่เกิดจากมันสมอง-ทักษะของคนไทยไปจนสิ้น ด้วยเหตุนี้ องค์ความรู้ภูมิปัญญา/เทคโนโลยี/นวัตกรรมไทยทางด้านโลจิสติกส์ทั้ง3(4)มิติของไทยโดยเฉพาะด้านการบิน/การเดินอากาศของไทย(บนการสร้างและใช้อากาศยานไทยขึ้นมาเอง)จึงสูญหายสิ้น/จึงไม่ได้รับการพัฒนาต่อยอด

การบิน/การเดินอากาศโดยจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทยเมื่อสมัยยุคปี2454-2480ซึ่งเคยรุ่งโรจน์ ทว่าหลังจากนั้นแล้วจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทยด้านการบินได้หายไปสิ้น สายการบินของไทยปัจจุบันเกือบไม่เหลืออะไรให้เห็นว่ามันเป็นของไทย นอกเสียจากบรรดานักบิน-ลูกเรือ-เจ้าหน้าที่เทคนิค-…ที่ยังเป็นคนไทยอยู่

สิ่งที่ปรากฎบนความเป็นไทยปัจจุบันเหลือแต่เพียงว่ามีบรรดาเหลือบริ้นไรที่เพียรพยายามเข้ามาตอมกินผลประโยชน์จากการบิน/การเดินอากาศที่ได้รับการอุปถัมภ์เงินทุนอย่างดีจากรัฐ(กระทรวงการคลัง) ความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” หมดสิ้นสภาพไปเรียบร้อยแล้ว

ผลประโยชน์โดยรวมของคนไทย
-เส้นทางบินมูลค่ามหาศาลในฐานะที่ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคนั้นเป็นที่จะต้องสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยในประเทศไทยโดยอาศัย “สายการบินแห่งชาติ” เป็นเครื่องมือทำหน้าที่เก็บเกี่ยว

-ความเป็นศูนย์กลางการบิน/การเดินอากาศรูปแบบใหม่แห่งยุคอนาคตที่มี “สายการบินแห่งชาติ” เป็นแกนนำจำเป็นจะต้องถูกขับเคลื่อนในรูปแบบของแหล่งอุตสาหกรรมอากาศยานรูปแบบใหม่แห่งยุคอนาคต(UAV : Fix Wing , Rotor , Others) : การผลิตสร้าง/ดัดแปลง/รับรองการใช้งาน การส่งกำลังซ่อมบำรุง การรับส่ง/เปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า การฝึกอบรมนานาประเภท/การฝึกบิน-การซ่อมบำรุง-การจัดการ-นิรภัย-เวชศาสตร์การบิน …การบริการแบบเบ็ดเสร็จสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยในประเทศไทยได้มากมหาศาลเป็นเวลาต่อเนื่องอีกยาวไกล(50-100ปี)

-สิ่งอำนวยความสะดวก/สิ่งอุปกรณ์สนับสนุนที่เป็น “ทรัพยากรร่วม” สำหรับใช้งานร่วมกันบนเป้าหมายความปลอดภัย-ความสะดวก-ความประหยัด-ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้การจัดการแบ่งปันการมีส่วนร่วมโดยอาศัย “สายการบินแห่งชาติ” เป็นองค์การนำนั้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยในประเทศไทยได้มากมหาศาลเป็นเวลาต่อเนื่องอีกยาวไกล(50-100ปี)

-กฎหมาย/ระเบียบข้อบังคับ…มาตรฐาน(ร่วม)..ที่เป็นกลไกร่วมบนความร่วมมือ(ที่เปิดกว้างสำหรับกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทางด้านการบิน/การเดินอากาศโดยมี “สายการบินแห่งชาติ” เป็นแกนนำนั้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยในประเทศไทยได้มากมหาศาลเป็นเวลาต่อเนื่องอีกยาวไกล(50-100ปี)

บริษัทการบินไทยในสภาพปัจจุบันที่กล่าวได้ว่า มิได้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” แม้แต่น้อย!!!

บริษัทการบินไทยบนสภาพขาดปัญญาไทย กับมีภาระหนี้สินมากมหาศาล มิสมควรได้รับเกียรติให้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” อีกต่อไป อันเนื่องมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

0_ปัญญาไทยของคนไทย “มิได้” ถูกใส่เข้าไปในการผลิตสร้างอากาศยาน/ในการผลิตสร้างเครื่องช่วยเดินอากาศ/ในการผลิตสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆเกี่ยวกับการทำการบินของบริษัทการบินไทย บรรดาทรัพย์สิน:เครื่องบิน+ มาตรฐานการบิน(Standard) + ความสมควรเดินอากาศ(Worthiness) …ทั้งหมดล้วนเป็นผลผลิตจากปัญญาของชาวต่างชาติทั้งสิ้น มันได้มาด้วยการจัดซื้อจัดหาอย่างหนักมาจากต่างประเทศ(มูลค่าจัดซื้อมากมหาศาล-มูลค่าหนี้มากมหาศาล) มันมีราคาแพงซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพียงเท่านั้น/มันต้องอิงติดอยู่ใต้อุ้งมือคนต่างชาติเท่านั้น ปัญญาคนไทยมิสามารถถูกใส่ลงไปในตัวมันเหล่านั้นได้(บางครั้งเนื่องจากผู้มีอำนาจไม่เปิดโอกาส) คนไทยทั้งชาติในสภาพการณ์ปัจจุบัน(กิจการขาดทุนก่อหนี้สินล้นพ้นตัว)นั้นหาได้มีความภาคภูมิใจใดๆในกิจการของบริษัทการบินไทยไม่

(แม้ว่าการบินไทย(ที่ผ่านมา)จะมีรัฐบาล/กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่เกินกว่าครึ่งก็ตาม นั่นเป็นเพียงความรู้สึกของคนภาครัฐ จนกล้าออกมาประกาศตนว่าเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหาได้เข้าใจ-เข้าถึง-มีส่วนร่วม ในการพัฒนาในการเป็น “สายการบินแห่งชาติ ไม่

(ในเหตุผล/ที่มา/เงื่อนไข/วิธีคิดดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เอกชนทุกรายหากมีเงินทุนมาก/เป็นเศรษฐีก็สามารถซื้อหาอากาศยานพร้อมกับสิ่งอุปกรณ์ของมันมามาจากต่างประเทศใช้ประกอบกิจการด้านการบินโดยเปิดทำการในนามบริษัทของตน-เป็น “บริษัท-(นามสกุลของตัวเอง)-จำกัด” ได้อย่างเสรีโดยมิจำเป็นต้องมีการมีส่วนร่วมของคนไทยทั้งชาติ

ทว่าในการนี้เอกชนดังกล่าวก็มิอาจประกาศตนว่าเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ได้)

(รัฐเองก็เช่นกัน หากกระทำเพียงซื้อหาอากาศยาน พร้อมกับสิ่งอุปกรณ์ของมันมาจากต่างประเทศดังเช่นเดิมหวังนำมันมาใช้งานให้บริการด้านการบินโดยมิได้สร้างการมีส่วนร่วมของคนไทยทั้งชาติในการประกอบการด้านการบิน/การเดินอากาศก็จะไม่สามารถประกาศตนว่าเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ได้เฉกเช่นเดียวกัน …มันอับอายประชาราษฎร์)

ความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ของบริษัทการบินไทยสมควรจะต้องเกิดมาจากความเป็นไทยเป็นหลักใหญ่เท่านั้น ภายใต้แนวคิดและวิธีการ ดังนี้

1_ความคิดริเริ่มของคนไทยในบริษัทการบินไทยที่ต้องเป็นความคิดริเริ่มที่ดีที่ฉลาดในเชิงสร้างสรรค์/เชิงรุกเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
ทว่าปรากฎว่ามัน “มิได้มี” ปะปนอยู่ในกิจการการบิน/การเดินอากาศมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างอากาศยานขึ้นมาใช้งานเอง(เป็นบางส่วน คนไทยในบริษัทการบินไทยหมกมุ่นอยู่กับการจัดซื้อจัดหาเครื่องบิน(ยี่ห้อ-รุ่น)/อยู่กับการจัดซื้อจัดหาเครื่องยนต์/อยู่กับการจัดซื้อจัดหาเอวิออนิกส์/อยู่กับการจัดจัดซื้อจัดหาจัดหาอะไหล่ ….อยู่กับการบริหารจัดการด้านการให้บริการ: ซื้อขายตั๋ว/ครัวการบิน/การเงิน/สิ่งอุปกรณ์ใช้กับผู้โดยสารบนอากาศยาน … อยู่กับการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกภาคพื้น …อยู่กับการจัดการด้านการตลาดต่างประเทศ …อยู่กับการบริหารจัดการแรงงาน/พลังปัญญาของบรรดาพนักงาน : ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่/พนักงานบริการ(สหภาพฯ)…. เพื่อประโยชน์ของตนเอง จนเกิดเป็นอาณาจักรย่อยๆเป็นที่รู้กันไปทั่วโลก

นั่นหมายถึงว่า การขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดความล้าสมัยตกชั้นซึ่งก็ได้มีเกิดขึ้นในบริษัทการบินไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว-ผู้คนขาดความนิยมในการใช้บริการบริษัทการบินไทย-… ก่อต้นทุนราคาในการดำเนินกิจการของบริษัทการบินไทยที่สูงขึ้นเกินจากปกติ-ก่อหนี้ผูกพันจำนวนมาก …

(กลไกของรัฐไทย(ในยุคหลังกระทรวงการคลังเข้ามาถือหุ้นใหญ่)มิได้สร้างให้บริษัทการบินไทยดำเนินบริบทเชิงกว้างและเชิงลึก บริษัทการบินไทยจึงถือว่ามิได้ถูกออกแบบโดยรัฐไทยให้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” มาแต่ดั้งเดิมแต่ประการใด)

2_การอุทิศทุ่มเทของคนไทยในบริษัทการบินไทยในการสร้าง “สายการบินแห่งชาติ” ชั้นเลิศของโลกที่ต้องเพียบพร้อมไปด้วยนวัตกรรมใหม่ล้ำหน้าขึ้นมานั้น ปรากฏว่ามัน “ไม่มี” เกิดขึ้นในบริษัทการบินไทย บริษัทการบินไทยมิได้ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายใต้แนวคิดที่จะระดมพลังคนไทยทั้งชาติให้มีส่วนร่วมมุ่งมั่นรวมกันสร้างบริษัทให้เกิดเป็นสายการบินที่เป็นเอกลักษณ์ในความเป็นไทยสำหรับใช้มันเป็นเครื่องมือในการหาเงินทองเข้าประเทศ เอกลักษณ์ไทยมิได้ถูกใส่ลงไปในสายการบินนอกเสียจากมีคนไทยทำงานอยู่ในบริษัท/มีพนักงานประจำห้องโดยสารแต่งกายชุดไทย/พูดภาษาไทย… ความมุ่งมั่นเพียรพยายามที่จะก่อให้มีการเชื่อมโยงบริษัทการบินไทยเข้ากับภาคส่วนอื่นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ(บนPlatformพิเศษ)ในการรับส่งผู้โดยสาร/นักท่องเที่ยวชั้นดี(กิจการการบินรับส่งผู้โดยสาร=เครื่องบินชั้นดี/ที่นั่งโดยสารชั้นเยี่ยม+สถานที่ท่องเที่ยวชั้นเลิศ+แหล่งท่องเที่ยมทางธรรมชาติที่บริสุทธิ์+โรงแรมชั้นดี+ร้านอาหารชั้นดี+แหล่งสินค้านวัตกรรมไทยที่เป็นไทยแท้+การรับส่ง/สัญจรภาคพื้นที่ปลอดภัย+โรงพยาบาลในเครือ+ร้านค้าสรรพสินค้าประกันคุณภาพ+ร้านค้าชุมชนที่ต้องแนะนำ+แหล่งศิลปะวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า+ตำรวจ+การศุลกากร+ด่านเข้าเมือง+แหล่งสถาบันการศึกษาที่น่าแวะเยือน+….. กิจการการบินขนส่งสินค้า = คลังสินค้า/ศูนย์กระจายสินค้า+ร้านค้าปลีก/ค้าส่ง+คลังสินค้าปลายทาง+ศุลกากร+… +การเงิน/การธนาคาร)เพื่อสร้างนวัตกรรมบริการพิเศษด้านการบินของประเทศไทยขึ้นมาให้เป็นเอกลักษณ์ไทย/ให้เป็นสัญญาลักษณ์ชิ้นเอกของไทยให้สมกับความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” จะต้องมีการใช้เป็นเครื่องมือของรัฐไทยที่ทรงประสิทธิภาพแลบบบูรณาการซึ่งเป้าหมายสำคัญก็คือต้องสามารถเชื่อมโยงโลกแห่งการเดินทางสัญจรเข้าด้วยกัน

(กลไกของรัฐไทย(ในยุคหลังกระทรวงการคลังเข้ามาถือหุ้นใหญ่)มิได้สร้างให้บริษัทการบินไทยดำเนินบริบทเชิงกว้างและเชิงลึกเช่นที่กล่าวข้างต้น บริษัทการบินไทยจึงถือว่ามิได้ถูกออกแบบโดยรัฐไทยให้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” มาแต่ดั้งเดิมแต่ประการใด)

(ตรงกันข้ามคนไทยในบริษัทการบินไทยกลับกระทำกันแต่ว่าต่างฝ่ายต่างเข้าแย่งชิงผลประโยชน์ “อาณาจักรใครอาณาจักรมัน” – “ต่างไม่ยุ่งเกี่ยวระหว่างกันและกัน” บริษัทการบินไทยจึงเสมือนอยู่ในสภาพคล้ายเป็นถังขยะเศษอาหารที่บรรดาสัตว์แมลงลงไปสวาปามกันอย่างเต็มคราบปัจจุบันเศษอาหารเกือบจะหมดถัง ความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ของบริษัทการบินไทยได้หมดสิ้นไปแล้วโดยปริยาย)

3_จิตวิญญาณของความเป็นไทยของคนไทยในบริษัทการบินไทยที่ต้องสื่อถึงความมุ่งมั่นที่จะถูกสร้างให้บริษัทมีสถานะเป็น “สายการบินแห่งชาติ” อย่างแท้จริงนั้นปัจจุบันเกือบไม่มีหลงเหลือ

หมายถึงว่า การบินไทยขาดการสร้างการมีส่วนร่วมกับขาดความความพิถีพิถันบนความเป็นไทยที่มันทั้ง2ประการ สมควรต้องถูกใส่ลงในบรรดาสิ่งของเครื่องใช้บนเครื่องบิน/ในจุดบริการต่างๆ: อาคารสถานที่/การตกแต่ง+อาหาร/ของกิน+เครื่องดื่ม+ของแจกสิ่งสมนาคุณ+…โดยที่มันต้องเป็นนวัตกรรมระดับคุณภาพมาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย รู้แหล่งที่มา/รู้ผู้เป็นเจ้าของ วันเดือนปี-สถานที่ผลิตจะต้องถูกนำเสนอให้กับผู้รับบริการได้ทราบแหล่งที่มา ในทำนองเดียวกัน : กิจการรับส่งสินค้า : การรับสินค้า/การกระจายสินค้า+การเก็บรักษาสินค้า+การตรวจสอบสินค้า+การหีบห่อสินค้า+การขนส่งสินค้าภาคพื้น+การจัดการทางกฎกมาย/กฎระเบียบของรัฐ …ต้องถูกบริหารจัดการให้เป็นแบบเบ็ดเสร็จร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบนความใส่ใจในคุณภาพการบริการจากต้นทางถึงปลายทาง

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เริ่มมีการเข้าใช้บริการไปจนเสร็จสิ้น การบริการซึ่งจะต้องเป็นบริการแบบไทยแท้ที่การให้บริการด้วยใจของคนไทยนั้นเป็นเลิศกว่าใคร

ลการสร้าง “สายการบินแห่งชาติ” บนความเป็นไทยของคนไทยผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนนั้นกระทำได้ไม่ยากมันอยู่ที่จิตวิญญาณของคนไทยผู้เกี่ยวข้องในการสร้างพันธมิตรร่วมกัน

ทว่าแม้วันเวลาผันผ่านมายาวนานนั้นบริษัทการบินไทย ก็ทำไม่สำเร็จ
คนไทยในบริษัทการบินไทยเสมือนขาดจิตวิญญาณของในการสร้างและดำรงรักษาความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” (ใน การบินไทย มีคนมาจากระบบอุปถัมภ์มีมากเกินไปในบริษัทการบินไทย บริษัทการบินไทยจึงไร้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทยไปอย่างน่าเสียดาย)

การมีส่วนร่วมของคนไทยจากทุกภาคของประเทศในทุกบริบทของความเป็นไทยเพื่อสร้างความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใด(เรื่องการพัฒนาปรับปรุงอากาศยาน/ระบบการบินการเดินอากาศโดยฝีมือคนไทย-เรื่องนวัตกรรมสินค้าและบริการของท้องถิ่นจากทั่วทุกภาค)นั้นต้องถือว่าเป็นความสำคัญยิ่ง มันเป็นเรื่องราวของการรวมจิตวิญญาณของคนไทยทั้งชาติบนความเป็น “สายการบินแห่งชาติ”

ทว่าที่ผ่านมา การบินไทยหาได้เพียรพยายามไม่ คนไทยทั้งชาติมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการการบิน/การเดินอากาศ เสมือนว่าเป็นเพียงผู้โดยสารที่ต้องพึ่งบริการด้านการบินของการบินไทยเพื่อการเดินทางสัญจรเท่านั้น

มากกว่านั้นไม่มี การมีส่วนร่วมในกิจการเกือบไม่มีเช่นกัน(แม้แต่ผู้ถือหุ้นก็เกือบไม่มีส่วนร่วม)

ความเป็นเจ้าของบริษัทการบินไทยตกอยู่ในมือของบรรดานักการเมือง/นักปกครอง-ข้าราชการและ/หรือในมือของคนที่การเมือง/ที่รัฐ(บาล)ส่งมากำกับดูแลเท่านั้น บริษัทการบินไทยขาดการหลอมรวมจิตวิญญาณของคนไทยทั้งชาติ

(กลไกของรัฐไทย(ในยุคหลังกระทรวงการคลังเข้ามาถือหุ้นใหญ่)มิได้สร้างให้บริษัทการบินไทยดำเนินบริบทเชิงกว้างและเชิงลึกดังเช่นที่กล่าวข้างต้น บริษัทการบินไทยจึงถือว่ามิได้ถูกออกแบบโดยรัฐไทยให้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” แต่ประการใด

การสร้างความมีส่วนร่วมและ/หรือการสร้างสิทธิพิเศษระหว่างหน่วยงาน/องค์การภาคส่วนของรัฐไทยที่สมควรต้องเอื้อประโยชน์ทางด้านการบิน/การเดินอากาศต่อกันและกัน : การท่าอากาศยาน/กรมท่าอากาศยาน(ค่าจอด-การใช้งวง..) วิทยุการบิน/การจราจรทางอากาศ การปิโตรเลียม(ภาษีเชื้อเพลิง) ศูนย์ซ่อมอากาศยานเอกชน(Thai)/รัฐ(TAI) ThaiSubCon/ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ในประเทศ…

รวมไปถึงองค์การภาคบริการของภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ในรูปแบบของการผนึกกำลังปัญญาคนไทยกันให้มากที่สุดที่จะกระทำได้โดยใช้ความร่วมมือนี้ทำการสร้างศักยภาพการบิน/การเดินอากาศขึ้นมาในประเทศอย่างสูงสุดเพื่อให้เกิดพลังอำนาจการแข่งขันสูงสุด

ซึ่งหากกระทำได้สำเร็จแล้วก็สมควรจะได้ชื่อว่า “สายการบินแห่งชาติ” ทว่าที่ผ่านมาบริษัทการบินไทยหาได้เพียรพยายามกระทำเช่นนั้นไม่ บรรดาผู้มีอำนาจกำกับดูแลบริษัทการบินไทย(กระทรวงการคลัง-กระทรวงอุตสาหกรรม-กระทรวงคมนาคม…)ยังใช้รูปแบบการขับเคลื่อนการบินการเดินอากาศรูปแบบเดิมคือกระทำกันเพียง : ซื้อเครื่องบิน ซื้อเครื่องยนต์ ซื้ออะไหล่ ซื้อน้ำมัน…มาจากต่างประเทศทั้งหมดทั้งสิ้น ซื้อวัสดุต้นน้ำมาจากบริษัทในเครือด้วยราคาแพง ++++ กระทำกันเพียง : ขายตั๋ว ขายเงินตราต่างประเทศ/อัตราแลกเปลี่ยน ขายอาหาร.. ดังเช่นเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง โดยการซื้อกับการขายนั้นไม่คิดสร้างและใส่ “ความเป็นไทย” ลงไป

(กลไกของรัฐไทย(ในยุคหลังกระทรวงการคลังเข้ามาถือหุ้นใหญ่)มิได้สร้างให้บริษัทการบินไทยดำเนินบริบทเชิงกว้างและเชิงลึกตามที่ได้ยกตัวอย่างให้เห็นในข้างต้น บริษัทการบินไทยจึงถือว่ามิได้ถูกออกแบบโดยรัฐไทยให้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” แต่ประการใด)

4_ผลประโยชน์ที่บริษัทการบินไทยได้รับจากการแสวงหารายได้(เงินค่าใช้บริการ)บนการใช้อธิปไตยในน่านฟ้าไทย/ในดินแดน/บนภูมิประเทศ-บนความเป็นจุดศูนย์กลางในภูมิภาคที่ได้ก่อเกิดกิจการการบิน/การเดินอากาศในเชิงธุรกิจซึ่งผลประโยชน์ดังกล่าวนี้ถือเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงของคนไทยทั้งชาติที่ประชาชนคนไทยทุกคนต้องได้รับ

(มิใช่ผลประโยชน์ที่ใครคนใดคนหนึ่งหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้รับในลักษณะเป็นอภิสิทธิ์ชน
ดังเช่นที่เป็นปรากฎการณ์ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น อภิสิทธิ์ของนักการเมือง/นักปกครอง-ข้าราชการ-พนักงาน/ผู้บริหาร/กรรมการของบริษัทการบินไทย….มิสามารถนำมาใช้กับความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ได้)

ผลประโยชน์ของบริษัทการบินไทยจากการใช้เส้นทางบินในห้วงอากาศไทย-จากการใช้ห้วงอากาศไทย-จากที่ดิน/สนามบินในประเทศไทย-จากการใช้มวลอากาศ(ที่พ่นไอพิษ/ปล่อยฝุ่นควัน/ก่อเสียงรบกวน)ในห้วงอากาศไทย -…ผลประโยชน์ที่มีเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์(รีดเค้น)ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นทรัพย์สมบัติส่วนกลางของคนไทยทุกคนจนเกิดความผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติดั้งเดิม/ก่อเกิดมลภาวะขึ้นมานั้นมันสมควรจะต้องตกถึงมือคนไทยทุกคนอย่างทั่วถึง

บริษัทการบินไทยไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็น “สายการบินแห่งชาติ” จึงไม่มีบริบทในการนำส่งผลประโยชน์ดังกล่าวนี้แก่บ้านเมืองไทย ซ้ำร้ายกว่านั้น นอกจากจะไม่มีบริบทดังกล่าว แต่ทว่าบริษัทกลับดำเนินกิจการขาดทุนย่อยยับ จนกระทั่งรัฐไทยต้องนำเอาภาษีราษฎรเข้าไปช่วยเหลือจุนเจือ

บริษัทการบินไทยในสภาพปัจจุบันเสมือนเป็นแค่ “เครื่องบินเก่าแก่ชราภาพ” ซึ่งกำลังจะหลุดยุคหมดสมัยลงไปแล้ว

บริษัทการบินไทยถือว่ามิได้เป็นเอกลักษณ์/มิได้เป็นสัญลักษณ์(เชิงปัญญาไทย)ของความเป็นไทยในสถานะเป็น “สายการบินแห่งชาติ”อีกต่อไป

การกอบกู้ขึ้นมานั้นจึงไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การทุ่มทุนทุ่มเงินทองจำนวนมากที่มาจากภาษีประชาชนลงไปโอบอุ้มไม่น่าจะคุ้มค่ากับตัวเงินที่ใส่ลงไป

เอกชนรายใดหากต้องการโอบอุ้มรื้อฟื้นคืนชีพบริษัทการบินไทยก็สามารถที่จะยื่นมือเข้ามาได้

ทว่ารัฐไทยจะต้องไม่เข้าไปโอบอุ้มอันเนื่องจากว่าบริษัทการบินไทยเสมือนกับเป็นองค์การที่ได้สิ้นสภาพจากความเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ไปแล้วดังที่กล่าวข้างต้น

เอกชนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามสามารถซื้อกิจการและนำบริษัทการบินไทยไปทำการรื้อฟื้นคืนชีพก็ได้เพียงแต่ว่า ต้องใช้ชื่อกิจการในนามบริษัทอื่นและต้องมิได้มีสถานะเป็น “สายการบินแห่งชาติ” อีกต่อไป

รัฐไทยโดยหน่วยงานของรัฐที่มีปัญญา-ที่มีขีดความสามารถและมีความพร้อมในการริเริ่มสร้างสรรค์สร้าง “สายการบินแห่งชาติ” ขึ้นมาใหม่ภายใต้การสร้างปัญญากับการใช้ปัญญาของคนไทยลงมือคิดค้นวิจัยพัฒนาทดลองทดสอบผลิตสร้างรับรองการใช้งาน(Certify)อากาศยานรูปแบบใหม่แห่งยุคอนาคต(UAV : Fix Wing , Rotor , Others)ที่มีความสมควรเดินอากาศ(Worthiness)ขึ้นมาเป็นของไทยเราเองสำหรับใช้ดำเนินกิจการทางทหารแห่งยุคอนาคตในระยะเวลา50-100ปีข้างหน้าและ/หรือสำหรับใช้ดำเนินกิจการทางพลเรือนแห่งยุคอนาคตในระยะเวลา50-100ปีข้างหน้า (ดังเช่นที่กองทัพอากาศเคยกระทำมาเมื่อกว่า100ปีที่แล้ว : ผลิตสร้างอากาศยานขึ้นมาเอง-เปิดกิจการขนส่งไปรษณีย์ครั้งแรกจากดอนเมืองไปสนามบินเนินพลอยแหวนจังหวัดจันทบุรีเมื่อ17กุมภาพันธ์2462

รวมถึงที่เคยยื่นมือเข้าไปดำเนินกิจการการบินของบริษัทเดินอากาศเมื่อหลายทศวรรษมาแล้วจนสายการบินของไทยเติบโตก้าวหน้าสู่ยุครุ่งโรจน์)

วิธีคิด/วิธีปฏิบัติเช่นนี้เชื่อว่า กองทัพอากาศในฐานะเป็นเจ้าภาพหลักทางด้านกำลังทางอากาศของประเทศ(ทางทหาร-กับ-ทางพลเรือน: ตามพระปณิธานของจอมพลสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศและการคมนาคมไทย)ในบริบทตามสภาพภูมิศาสตร์ของไทย-ในบริบทของต้นทุนปัญญาทางด้านวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมด้านการบิน/การเดินอากาศ-ในบริบทของการบุกเบิกกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงทางด้านการบิน/การเดินอากาศบนความท้าทายตามสภาพโลกาภิวัตน์-ในบริบทของกลไกกับธรรมชาติของท้องฟ้า-ในบริบทของเขตอาณาทางอากาศรอบประเทศ-ในบริบทของผลประโยชน์บนพลังอำนาจทั้ง8ด้าน(ด้านการทหาร)ไม่เว้นแม้แต่พลังอำนาจด้านเศรษฐกิจ(การค้าขาย)และสังคม(การเดินทางสัญจร)-ในบริบทของความเป็นมิตรที่ดีกับมิตรประเทศ

โดยเฉพาะกับประเทศรอบบ้านนั้นกองทัพอากาศไทยสามารถทำการสรรสร้างอากาศยานรูปแบบใหม่แห่งยุคอนาคต(UAV : Fix Wing , Rotor , Others)ขึ้นมาสำหรับใช้ในกิจการทางทหารและ/หรือสำหรับใช้ในกิจการพลเรือนแห่งยุคอนาคตที่ต้องทำการบินข้ามประเทศ/ข้ามทวีปในนาม “สายการบินแห่งชาติ” ขึ้นมาได้เป็นที่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม “การจัดระเบียบในเชิงกฎหมาย” (โดยนักกฎหมาย)เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากิจการการบิน/การเดินอากาศที่ล่มสลายก็ยังมีความสำคัญในส่วนหนึ่งแต่มันเป็นเพียงส่วนสนับสนุนการขับเคลื่อนการประกอบการด้านการบิน/การเดินอากาศให้อยู่ได้ไปชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น(ทว่ามิใช่อยู่รอด) กฎหมายมันมิใช่ส่วนหลักของการขับเคลื่อนกิจการการบินกับการเดินอากาศแห่งยุคอนาคตที่มีความซับซ้อนและเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่แต่ประการใด!

“เสืออากาศ24/7”

error: Content is protected !!