วันจันทร์, 25 กันยายน 2566

“ผบ.ทอ.”เตรียม ทำ Wing 2 Model แก้ภัยแล้ง ลพบุรี ด้วยวิธีธรรมชาติ ผสมเทคโนโลยี

26 เม.ย. 2020
1008

“ผบ.ทอ.”เตรียม ทำ
Wing 2 Model
แก้ภัยแล้ง ลพบุรี
ด้วยวิธีธรรมชาติ ผสมเทคโนโลยี
ขุดลอกเส้นทางน้ำธรรมชาติ
ให้เป็นเส้นทางน้ำArtificial จากป่าเขา …ไปจนถึงกองบิน2
ฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ขุดบ่อเก็บน้ำArtificial ขุดระเบิดอุโมงค์อัดน้ำลงใต้ดิน
สร้างระบบนิเวศที่สมดุล ปลูกต้นไม้
ทอ.เริ่ม …และขอการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เพื่อเป็น “โมเดล แก้แล้ง”

.
แม้จะอยู่ในสถานการณ์โรคระบาด….แต่ภัยแล้ง ก็ยังมีอยู่ และรุนแรงมากขึ้น

พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผบ.ทอ. จึงสั่งการให้ ทอ.แก้ปัญหาแล้งจัดโดยอาศัยหลักธรรมชาติ

โดยได้ให้ไอเดีย ในการแก้ปัญหา ไว้ว่า….

ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

ฝน+ป่าเขา/ต้นไม้ – เส้นทางน้ำ – แหล่งน้ำ – พืชพรรณ – สัตว์แมลง – ….ชายหาด/ป่าชายเลน – ทะเล …. มนุษย์ …มันทั้งหมดถูกสร้างมาโดยธรรมชาติมาเป็นเวลายาวนานนับล้านล้านปี

มีฝน+มีป่าเขา/มีต้นไม้ – ย่อมเกิดมีเส้นทางน้ำ – ย่อมเกิดมีแหล่งน้ำ – ย่อมเกิดมีพืชพรรณ – ย่อมเกิดมีสัตว์แมลง – …. ย่อมเกิดมีชายหาด/ป่าชายเลน – ย่อมเกิดมีทะเล …. ย่อมเกิดมีมนุษย์ซึ่งมนุษย์นั้นเกิดมีขึ้นมาจำนวนมากอย่างไร้การควบคุม (มนุษย์ล้างผลาญธรรมชาติเกินความจำเป็นสำหรับการอุปโภคบริโภครายปัจเจกบุคคล)

ขณะที่ ..บรรดาป่าเขาได้พังพินาศลง/ต้นไม้ลดลงจนเกือบไม่เหลือหรอ – เส้นทางน้ำแห้งขอด – แหล่งน้ำตื้นเขิน – น้ำใต้ดินหยุดนิ่ง – พืชพรรณสูญพันธุ์ – สัตว์แมลงสูญสิ้น

– ….ชายหาด/ป่าชายเลนพังพินาศแหล่งอาหารทะเลพังพินาศสิ้น -น้ำเค็มรุกน้ำจืด – ทะเลสกปรกโสโครกจากมูตร/มูลของบรรดามนุษย์จำนวนมาก … ระบบนิเวศไร้สมดุล

ความแห้งแล้ง-ความร้อน-ฝุ่น …น้ำท่วมหลาก ..เข้าปกคลุมทั่วทั้งดินแดน…ภายในระยะเวลาเพียง 1xxปีเศษ

หลักการทางธรรมชาติ สู่ การกลับคืนสู่ธรรมชาติ
1-ฝนตกยังคงตามธรรมชาติในฤดูฝน (แต่อาจตกน้อยลงในฤดูอื่นๆอีก3 ฤดู)
2-ป่าเขา ตามธรรมชาติ ทว่าปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมจากฝีมือมนุษย์
3-ต้นไม้ ตามธรรมชาติ ทว่าปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมจากฝีมือมนุษย์
4-เส้นทางน้ำ ตามธรรมชาติ ทว่าปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมจากฝีมือมนุษย์
5-แหล่งน้ำ ตามธรรมชาติ ทว่าปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมจากฝีมือมนุษย์
6-น้ำใต้ดิน ตามธรรมชาติ ทว่าปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมอันเนื่องจากจากป่า จากต้นไม้ จากเส้นทางน้ำ จากแหล่งน้ำอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม …ที่ทั้งหมดล้วนจากมาจาก “ฝีมือมนุษย์” ทั้งสิ้น มิอาจปฏิเสธได้

ระบบธรรมชาติพังพินาศอันเนื่องมาจากฝีมือมนุษย์
ดังนั้น….
การฟื้นฟูธรรมชาติรอบตัวที่เสื่อมโทรมก็จะต้องกระทำโดยฝีมือมนุษย์บนปัญญาของมนุษย์ในลักษณะของการใช้วิธีการArtificial

กองบิน2 ลพบุรี

(จังหวัดลพบุรี ค่ายทหารบกอยู่รายรอบ….ต่างประสบปัญหาน้ำแล้งทั้งสิ้น ..)
# น้ำแล้ง… จะต้องเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้ตลอดทั้งปี ไม่มีหนทางเลือกอื่น…
$ น้ำในคลองชลประทาน(ที่เคยเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค)อยู่ในสภาพเหือดแห้ง อันเนื่องมาจากขาดน้ำในคลองที่สืบเนื่องมาจากเขื่อนและลำน้ำในภาคเหนือก็เหือดแห้งเช่นกัน
$ ป่าเขาด้านตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือของกองบิน2 ซึ่งมีระยะทางไม่ไกลจากที่ตั้งกองบิน2 มากนักนั้นมีสภาพเสื่อมโทรม ขาดต้นไม้ใหญ่น้อย
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยซับน้ำ
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยดูดน้ำบนป่าเขาลงใต้ดิน
น้ำไหลบ่าตามร่องเขาในฤดูฝน ป่าเขาแห้งกรอบในฤดูแล้ง
$ เส้นทางน้ำจากป่าเขาผ่านเข้าพื้นที่เกษตรกรรม…ไปสู่กองบิน2 อยู่ในสภาพตื้นเขิน แห้งขอด
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยทำหน้าที่ชะลอน้ำตามเส้นทางน้ำ
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยทำหน้าที่ดูดน้ำตามเส้นทางลงใต้ดิน
น้ำไหลบ่าท่วมพื้นที่โดยรอบเส้นทางน้ำในฤดูฝน แหล่งเก็บน้ำธรรมชาติพังทลายไม่สามารถก่อระบบนิเวศให้สมดุลทั้งในฤดูฝนและในหน้าแล้ง ผืนดินแห้งกร้าน
$ แหล่งเก็บน้ำธรรมชาติไม่มี ไม่หลงเหลือร่องรอยของแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งนี้ เนื่องจากว่ามนุษย์(เกษตรกร-ชุมชน) ได้ทำลายมันจนสิ้น
& ไม่มีน้ำสะสมในพื้นที่ลุ่มที่สามารถกำเนิดเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติได้
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยดึงความชื้นไว้รอบๆแหล่งน้ำเพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมดุล
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยดูดน้ำรอบๆลงใต้ดินให้เป็นน้ำใต้ดิน
น้ำไหลบ่าท่วมกองบิน2-ท่วมชุมชน/เมืองในฤดูฝน

กองบิน2-ชุมชน/เมือง ..สามารถเก็บน้ำไว้ในบ่อเก็บน้ำได้เพียงเล็กน้อยสำหรับใช้ในฤดูแล้งเท่านั้น มีแนวโน้มว่าไม่น่าจะเพียงพอในตลอดทั้งปี (อาจจะเพียงพอสำหรับกองบิน2 แต่ก็จะไม่พอสำหรับชุมชน/ค่ายทหารบกและไม่พอสำหรับเมืองลพบุรี)
$ น้ำใต้ดินไม่มี ชั้นดินบาดาลแข็งกร้าน ไม่มีน้ำไหลลงสู่ชั้นใต้ดิน/ไม่มีน้ำไหลในชั้นใต้ดิน
& ไม่มีป่าเขา -ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อย -ไม่มีเส้นทางน้ำ -ไม่มีแหล่งน้ำ ดูดน้ำลงใต้ดิน
& ไม่มีต้นไม้ใหญ่น้อยทำหน้าที่ดูดซับน้ำฝนซึ่งมีจำนวนไม่น้อยในแต่ละปีให้ถูกเก็บโดยธรรมชาติไว้บนดินและดูดลงสู่ใต้ดิน

กองบิน2
บทเรียนความแห้งแล้งของกองบิน2 (ของชุมชน/ค่ายทหารบกและของเมืองลพบุรี) มันต้องถูกนำมาวิเคราะห์หาหนทางแก้ไขโดยใส่ปัญญามนุษย์เข้าไปในรูปของArtificial

# ตัวแบบในการแก้ปัญหาภัยแล้งของกองบิน 2 – “Wing 2 Model” (ร่วมกับจังหวัดลพบุรี )

$ สำรวจพื้นที่/ถ่ายภาพทางอากาศเพื่อพิสูจน์ทราบ : ป่าเขา/ร่องลำธาร ต้นไม้ธรรมชาติ เส้นทางน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ (ประมาณการเส้นทางน้ำใต้ดิน) บ่อเก็บน้ำArtificialของกองบิน 2 กับของชุมชน/เมืองลพบุรีและของเอกชนทั่วไป(ที่ยินดีมีส่วนร่วมในการเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง)

(กองทัพอากาศรับผิดชอบดำเนินการถ่ายภาพทางอากาศ: ศลภ.คปอ.) (สน.ปรมน.ทอ.รับผิดชอบประสานงานส่วนราชการ – เอกชน – องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น – โรงเรียน – สถาบันการศึกษา…)

$ ทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มฝนในบริเวณกองบิน2 (จังหวัดลพบุรี) ในกรณีจำเป็นโดยการทำฝนหลวงจะสามารถกระทำได้ดีเมื่อมีความชื้นในอากาศ

ซึ่งบริเวณพื้นที่นี้จะต้องมีป่าเขา/ต้นไม้อุดมสมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่ปล่อยความชื้นขึ้นไปในอากาศ (ไปผสมกับความชื้นที่มีอยู่ในอากาศ) ความชื้นจากป่าเขา/จากต้นไม้ร่วมกับความชื้นในอากาศเมื่อปะทะกันก็จะรวมกันเป็นมวลความชื้นและจะก่อเกิดประจุไฟฟ้าในอากาศขึ้นมา

ประจุไฟฟ้าในอากาศนี้เองจะเป็นตัวการสำคัญของการดึงประจุไฟฟ้านำสู่การรวมตัวกันของน้ำให้กลายเป็นหยดน้ำ ต้นไม้ธรรมชาติบนป่าเขาที่ปล่อยไอน้ำขึ้นสู่อากาศตลอดเวลาจึงมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการทำฝนหลวง

(กองทัพอากาศรับผิดชอบดำเนินการทำฝนหลวง: กองบิน 2 กองบิน 5 กองบิน 23)

(กรมยุทธการ.ทอ.รับผิดชอบการจัดดำเนินการทำฝนหลวงส่วน ทอ.)

(คปอ.รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการปฏิบัติการทำฝนหลวงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย)

(ขอความร่วมมือ/ประสานงานร่วมกับกระทรวงเกษตรฯในการทำฝนหลวงเพื่อบริหารปริมาณน้ำฝนบริเวณจังหวัดลพบุรีและภาคกลาง/ภาคเหนือที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ)

$ สร้างป่า/ปลูกต้นไม้เท่าที่สามารถจะกระทำได้ ทั้งนี้ ให้ยึดถือปฏิบัติตามโครงการปลูกป่า/ปลูกต้นไม้ 100ล้านต้น สร้างระบบนิเวศของกองบิน2 กับของชุมชน/เมืองลพบุรีขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ ต้นไม่ใหญ่น้อยจะต้องเป็นพืชพรรณที่เหมาะกับพื้นที่(ภาคกลาง-จังหวัดลพบุรี) โดยดำเนินการ ดังนี้

& กองบิน2 (ร่วมกับจังหวัดลพบุรีและส่วนราชการ:กระทรวง-กรม..จากส่วนกลาง..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)ลงมือปลูกต้นไม้จำนวนหนึ่ง : ผู้บังคับการกองบิน2 กำหนดตัวเลขโดยปลูกต้นไม้บนป่าเขา -ตามเส้นทางน้ำ -ตามพื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ -ตามแหล่งน้ำArtificialที่ได้ขุดขึ้นมาและ/หรือจะขุดขึ้นมาภายในพื้นที่กองบิน2 : จัดภูมิทัศน์ของกองบิน2 ขึ้นใหม่ให้เป็นกองบินต้นแบบแก้ปัญหาภัยแล้งที่มีป่า/มีต้นไม้ใหญ่น้อยและมีระบบนิเวศสมดุล)

(ขอรับการสนับสนุนวิชาการ-นักวิชาการด้านป่าเขา-ต้นไม้/ธรรมชาติรอบตัว จากกระทรวงเกษตรฯ)

(ขอรับการสนับสนุนพันธุ์ไม้ใหญ่น้อย จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ)

(ขอรับอนุญาตทำการปลูกต้นไม้ใหญ่น้อย จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ-จากกระทรวงมหาดไทย/พื้นที่ว่างเปล่า สปก /นส3 …จากชุมชน/จากจังหวัดลพบุรี ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)

(ขอสร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชน..จังหวัดลพบุรี …โรงเรียน… สถาบันการศึกษา ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)

$ สร้างฝายหิน ตามแหล่งลำธารบนป่าเขาทุกระดับความสูงกับตามเส้นทางน้ำธรรมชาติยาวตลอดไปจนถึง กองบิน2 …ไปจนถึงชุมชน/เมืองลพบุรี โดยสร้างฝายหินเป็นระยะๆตามระดับความสูงของพื้นที่

โดยฝายหินจะทำหน้าที่เก็บกักน้ำกับทำหน้าที่เดรน/Drainน้ำเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ -เข้าสู่อ่างเก็บน้ำArtificial

ทั้งนี้ จำนวนฝายหินที่จะถูกสร้างขึ้นมานั้นจะเป็นเพียงแค่จำนวนหนึ่งในปีแรก จำนวนฝายหินที่สมควรจะถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมดจะต้องถูกคิดคำนวณมาจากการประเมินวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ

(ขอรับการสนับสนุนวิชาการ-นักวิชาการด้านป่าเขา/ธรรมชาติรอบตัว จากกระทรวงเกษตรฯ /กรมชลประทานโดยตรง)

(ขอรับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์/หิน จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ)

(ขอรับอนุญาตทำการสร้างฝายหิน จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ-จากกระทรวงมหาดไทย/พื้นที่ สปก /นส3 …จากชุมชน/จากจังหวัดลพบุรี ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)

(ขอสร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชน.. จังหวัดลพบุรี …โรงเรียน… สถาบันการศึกษา ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)

$ ขุดลอกเส้นทางน้ำธรรมชาติให้เป็นเส้นทางน้ำArtificial จากป่าเขา …ไปจนถึงกองบิน2 (ไปจนถึงชุมชน/เมืองลพบุรี) ร่วมกับการปลูกต้นไม้ใหญ่น้อยเพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมดุล ขุดลอกเส้นทางน้ำArtificial ที่มันสมควรจะถูกสร้างขึ้นมา โดยบรรดาเส้นทางน้ำทั้งหลายจะต้องถูกคิดคำนวณมาจากการประเมินวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ

(ขอรับการสนับสนุนวิชาการ-นักวิชาการด้านป่าเขา/ธรรมชาติรอบตัว จากกระทรวงเกษตรฯ /กรมชลประทานโดยตรง)

(ขอรับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ขุดลอกเส้นทางน้ำ จากกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหม/กองบัญชาการกองทัพไทย/หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา)

(ขอรับอนุญาตทำการขุดลอกเส้นทางน้ำธรรมชาติ/สร้างเส้นทางน้ำArtificial จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ-จากกระทรวงมหาดไทย/พื้นที่ สปก /นส3 …จากชุมชน/จากจังหวัดลพบุรี …จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)

(ขอสร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชน..จังหวัดลพบุรี ..โรงเรียน… สถาบันการศึกษา ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น)

$ ขุดบ่อเก็บน้ำArtificial ภายในกองบิน2 เพิ่มขึ้นให้พอเพียง(เบื้องต้น)สำหรับกองบิน2และสำหรับจังหวัดลพบุรี ทั้งนี้ ในขั้นต้นขุดเพิ่ม2บ่อ ดังนี้

1 บ่อ โดยกองทัพอากาศ ปริมาตร 500,000ลบ ม

1 บ่อ โดยจังหวัดลพบุรี ปริมาตร 500,000ลบ ม

(และ/หรืออีกหลายๆบ่อในชุมชนที่ต้องการมีส่วนร่วม/ในเมืองลพบุรี) ร่วมกับการปลูกต้นไม้ใหญ่น้อยรอบบ่อเก็บน้ำเพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมดุล บ่อเก็บน้ำArtificial ที่สมควรถูกสร้างขึ้นมานั้นจะต้องถูกคิดคำนวณ/ประเมินร่วมกับการจัดการเส้นทางน้ำธรรมชาติ/เส้นทางน้ำArtificial มาจากการประเมินวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ

(กองทัพอากาศจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการขุดบ่อArtificial จำนวน1บ่อ)

(กองทัพอากาศจัดหาระเบิดสำหรับใช้ในการขุดบ่อArtificial จำนวน1บ่อที่เป็นบ่อขุดโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ)

(ขอรับการสนับสนุนงบประมาณขุดบ่อArtificialจำนวน1บ่อจากจังหวัดลพบุรี)

(ขอรับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ขุดบ่อเก็บน้ำ จากกองบัญชาการกองทัพไทย/หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา -จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ถ้ามี)

(ขอสร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชน..จังหวัดลพบุรี ..โรงเรียน… สถาบันการศึกษา ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการจัดระบบนิเวศรอบบ่อArtificial ของทั้ง 2 บ่อ)

$ ฟื้นฟูแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติในรายทางตลอดเส้นทางน้ำ/ในรายทางตลอดเส้นทางน้ำArtificial จากป่าเขา …ตลอดแนวไปจนถึงกองบิน2 (ไปจนถึงชุมชน/เมืองลพบุรี) ร่วมกับการปลูกต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นรอบแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติเพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมดุลและให้กลายเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่แบบอัตโนมัติตามธรรมชาติขึ้นในอนาคต แหล่งน้ำธรรมชาติที่สมควรจะถูกฟื้นฟูขึ้นมานั้นจะต้องถูกคิดคำนวณมาจากการประเมินวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ

(ขอรับการสนับสนุนวิชาการ-นักวิชาการด้านป่าเขา/ธรรมชาติรอบตัว จากกระทรวงเกษตรฯ /กรมชลประทานโดยตรง)

(ขออนุญาตพิทักษ์แหล่งน้ำธรรมชาติ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ)

(ขอสร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชน..จังหวัดลพบุรี ..โรงเรียน… สถาบันการศึกษา ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ)

$ ขุดระเบิดอุโมงค์อัดน้ำลงใต้ดินให้สอดรับกับเส้นทางน้ำ-ฝายหินตลอดแนวจากป่าเขา ไปจนถึงกองบิน2

ทั้งนี้ ในขั้นต้นจะทำการขุดระเบิดอุโมงค์ในจำนวนตามความเหมาะสมจากการคำนวณปริมาตรน้ำฝนในบริเวณนั้นๆภายใต้การประเมินวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมจากภาพถ่ายทางอากาศ

การขุดอุโมงค์ใช้วิธีการขุดด้วยระเบิดโดยใช้เครื่องขุดนำระเบิดฝังลงไปใต้ดินแถบบริเวณชั้นดินดาน การขุดระเบิดต้องขุดระเบิดไปจนถึงชั้นดินดานเพื่อเปิดชั้นดินดานให้น้ำ(ฝน)ไหลลงสู่ใต้ดิน

ทั้งนี้ การเพิ่มอัตราการดูดซึมของน้ำผ่านชั้นดินดานที่แข็งกร้านอันเนื่องมาจากว่าผืนดินบริเวณนั้นขาดความชุ่มชื้นมายาวนาน สาเหตุหลักเกิดมาจากว่าบริเวณพื้นดินขาดต้นไม้และผิวดินปราศจากความชื้น มีแต่ความแห้งแล้งปกคลุมมายาวนาน

(กองทัพอากาศจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการขุดระเบิดอุโมงค์)

(กองทัพอากาศจัดหาระเบิดสำหรับใช้ในการขุดระเบิดอุโมงค์)

(ขอรับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์เจาะดินเพื่อเข้ากระบวนการขุดระเบิดอุโมงค์ จากกองบัญชาการกองทัพไทย/หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา -จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ถ้ามี)

ขอสร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชน..จังหวัดลพบุรี ..โรงเรียน… สถาบันการศึกษา ..องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการจัดสร้างอุโมงค์กับระบบนิเวศภายใน-โดยรอบอุโมงค์)

ป่าเขา/ต้นไม้ใหญ่น้อย ฝายหิน(ตามทฤษฎีป่า-น้ำของในหลวง ร9) เส้นทางน้ำ/เส้นทางน้ำArtificial แหล่งน้ำ/บ่อเก็บน้ำArtificial อุโมงค์อัดน้ำลงใต้ดิน ที่กองบิน2ร่วมกับจังหวัดลพบุรีได้จัดทำเป็นตัวแบบ(Model) นี้จะช่วยให้ไม่เกิดสภาวการณ์ภัยพิบัติ/แก้ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเกิดมาจากฝีมือมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ดังนี้

1)น้ำหลากท่วมหนักในฤดูฝน
2)ไม่เกิดแล้งจัดในหน้าแล้ง
3)ไม่ขาดแคลนน้ำใต้ดินในทุกฤดูกาล
4)ก่อให้เกิดมีป่าเขา/ป่าไม้ ต้นไม้ใหญ่น้อย…พืชพรรณ-สัตว์แมลงทีละน้อยๆ กับค่อยๆก่อระบบนิเวศที่สมดุลขึ้นมา

ตัวแบบ(Model)แก้ปัญหาแล้งจัดของกองบิน2 (ร่วมกับจังหวัดลพบุรี)
การแก้ปัญหาภัยแล้งจากตัวแบบ(Model)กองบิน2ร่วมกับจังหวัดลพบุรีสามารถนำไปใช้กับพื้นที่ที่ประสบปัญหาแล้งจัด-ท่วมจัด ณ พื้นที่อื่นๆได้
ก ปัญหาแล้งจัดซ้ำซาก-ท่วมจัดซ้ำซาก ปัญหาขาดน้ำบาดาลในพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
ข ปัญหาแล้งจัดซ้ำซาก-ท่วมหนัก ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี
ค …
ปัญหาตามข้อ ก ข ค… สามารถแก้ได้ด้วยตัวแบบ(Model)ของกองบิน2 ร่วมกับจังหวัดลพบุรี กล่าวคือ การสร้างป่าเขา ปลูกต้นไม้ใหญ่น้อย สร้างฝายหิน(ทฤษฎีป่า-น้ำของ ในหลวง ร.9) ฟื้นฟูเส้นทางน้ำ/ขุดเส้นทางน้ำArtificial ฟื้นฟูแหล่งน้ำ/ขุดบ่อเก็บน้ำArtificial ขุดระเบิดอุโมงค์อัดน้ำลงใต้ดิน สร้างระบบนิเวศที่สมดุลขึ้นมาภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ-เอกชน-องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น-โรงเรียน-สถาบันการศึกษา..

ประเทศไทย

แก้ปัญหาแล้งจัด-ร้อนจัด-…ท่วมจัด..ขาดน้ำใต้ดิน-ระบบนิเวศไร้คสมดุล ..ในทั่วทั้งประเทศไทยก็สามารถจะนำตัวแบบ(Model)ของกองบิน2 ร่วมกับจังหวัดลพบุรี กล่าวคือ การสร้างป่าเขา ปลูกต้นไม้ใหญ่น้อย สร้างฝายหิน(ตามทฤษฎีป่า-น้ำของ ในหลวง ร.9) ฟื้นฟูเส้นทางน้ำ/ขุดเส้นทางน้ำArtificial ฟื้นฟูแหล่งน้ำ/ขุดบ่อเก็บน้ำArtificial ขุดระเบิดอุโมงค์อัดน้ำลงใต้ดิน สร้างระบบนิเวศที่สมดุลขึ้นมาภายใต้การมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ(บนห้วงเวลาเดียวกัน-Time-Lineเดียวกัน)ของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ-เอกชน-องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น-โรงเรียน-สถาบันการศึกษา..

แล้วประเทศไทยก็จะหลุดพ้นปัญหาแล้งจัด-ร้อนจัด-…ท่วมจัด..ขาดน้ำใต้ดิน-ระบบนิเวศไร้สมดุล .. ได้อย่างถาวรยั่งยืน ธรรมชาติหวนกลับสู่ประเทศไทยเฉกเช่น เมื่ออดีตหลายล้านปีที่แล้ว

error: Content is protected !!