วันจันทร์, 25 กันยายน 2566

แผนแก้แล้ง

 

ทำฝนหลวง ไม่พอต้อง ทำฝายหินในลำธาร ตามร่องเขาทั่วทุกแห่ง-ควบคุม ด้วยGIS
ระบบกักน้ำธรรมชาติ เหือดหายเผย ตัวเลขเปรียบเทียบ น้ำฝนธรรมชาติ ที่หายไป กระทบน้ำท่า สะท้อนป่าเขา ต้นไม้ ที่ลดน้อยลง แนะปลูกป่า เพื่อ ลูกหลาน 50 ปีข้างหน้า

แม้จะมีทั้ง ฝุ่นPm2.5 และ ไวรัส โคโรน่า แต่อย่าลืม ภัยแล้ง ที่ยังวิกฤติ

“เสืออากาศ24/7” ชี้ปัญหา แล้งจัด ในภาคเหนือ(ลุ่มน้ำปิงตอนบน)ของไทย ว่า ที่ป่าหายไปกว่า 50% น้ำจืดตามธรรมชาติดั้งเดิมในตอนเหนือ(ลุ่มน้ำปิงตอนบน)ของประเทศไทยเกิดจาก

ก_ภูมิศาสตร์

-ป่าเขา/ต้นไม้ที่ซับน้ำ น้ำในเส้นทางน้ำ น้ำในแหล่งน้ำ น้ำในพืชพรรณ น้ำในระบบนิเวศของสัตว์แมลง

-ความชื้นในอากาศซึ่งก็เกิดมาจากการอุ้มความชื้นของป่าเขา/ต้นไม้

(ปริมาณฝุ่นควันที่เป็นปัญหาในปัจจุบันก็เป็นสัดส่วนผกผันกับความชื้นในอากาศด้วยเช่นกัน)

ข_ฝน ปริมาณฝนตกเฉลี่ยในแต่ละปี ประเทศไทยตอนเหนือ(ลุ่มน้ำปิงตอนบน)ในดั้งเดิมที่มีป่าเขา/ต้นไม้มากมหาศาลนั้นมีค่าเฉลี่ยธรรมชาติหลายพัน มม.
ปัจจุบันบนสภาพป่าหัวโล้นได้ลดค่าเฉลี่ยลงมาที่ 1,035 มม/ปี ปัจจุบันมีฝนเฉลี่ยปี62เพียง 911มม/ปี

ปริมาณฝนธรรมชาติหายไปเป็นจำนวนมาก

ค_น้ำท่า ปริมาณน้ำจืดไหลจากป่าเขา/จากเส้นทางน้ำธรรมชาติในป่า/จากแหล่งน้ำธรรมชาติในป่าตอนเหนือ(ลุ่มน้ำปิงตอนบน)ตอนบนลงสู่พื้นราบภาคเหนือและไหลลงแม่น้ำลำคลองในภาคกลางให้มนุษย์(คนไทย)และสิ่งมีชีวิตนำไปอุปโภคบริโภคในดั้งเดิมนั้นมีตัวเลขมหาศาล

ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยธรรมชาติตามสภาพป่าเขาหัวโล้นเพียง 1,621ล้านลูกบาศก์เมตร/Mm3

สำหรับปี62 มีปริมาณเพียง 519Mm3 (เกิดสภาพการณ์น้ำจืดไม่พอใช้-ลำคลองแห้งขอด แม่น้ำปิงตอนบนขาดน้ำ-ตามภาพถ่ายทางอากาศ)

น้ำท่าในลุ่มน้ำปิงตอนบน หายไปเป็นจำนวนมาก หากคิดรวมน้ำท่าทั้งลุ่มน้ำปิงตอนบนแล้วเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ

วิเคราะห์(ในสิ่งที่คนไทยต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ-รอบตัว)

สาเหตุที่ปริมาณฝนน้อยลงและน้ำท่าน้อยลงของลุ่มน้ำปิงตอนบน มีดังนี้

_จำนวนป่าเขา/ป่าไม้ที่เป็นธรรมชาติในสัดส่วนเปรียบเทียบกับจำนวนป่าเขา/ป่าไม้ในปัจจุบันนั้นลดลงอย่างน่าใจหาย

-ปริมาณน้ำฝนหลายพัน มม.(มากมายมหาศาล)

-ลำน้ำ 9 สาขา

-พื้นที่ 26,386 ตร.กม. ในลุ่มน้ำปิงตอนบนปัจจุบันป่าเขา/ต้นไม้ถูกทำลายหายไปสิ้น เหลือไม่น่าจะถึงร้อยละ50

-ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยดั้งเดิมบนปริมาณป่าเขาสมบูรณ์ 7,034.15 ล้านลูกบาศก์เมตร (Mm3)

ปัจจุบันเหลือเป็นค่าเฉลี่ยน้อยเหลือเพียง 1,621 Mm3 หรือหายไปกว่าร้อยละ 77 โดยเฉพาะปี62นั้นมีปริมาณลดลงมากมายจนเหลือ 519 Mm3 มันเป็นตัวเลขที่น่ากลัวยิ่งบนความเป็นประเทศสุวรรณภูมิของประเทศไทย

สัดส่วนของป่าเขา/ต้นไม้ในลุ่มน้ำปิงตอนบน : ป่าเขา/ต้นไม้สมบูรณ์-ป่าแหว่ง-เขาหัวโล้น มันไม่ได้สัดส่วน (การทำไร่นาเกษตรกรรมบนป่าเขาไม่ได้สัดส่วนในระบบนิเวศตามธรรมชาติ – ตามภาพถ่ายทางอากาศ)

ป่าเขา/ต้นไม้ในลุ่มน้ำปิงตอนบนเหลือไม่มากนัก มันคือต้นเหตุแห่งปัญหาที่นำมาซึ่งแล้งจัด/ร้อนจัด/ฝุ่นจัด-ท่วมจัด -ตามภาพถ่ายทางอากาศ

-จำนวนป่าเขา/ต้นไม้โดยธรรมชาติสื่อถึงปริมาณน้ำฝน

ป่าเขา/ต้นไม้มาก-ปริมาณฝนก็มาก

ป่าไม้เหลือน้อย-ปริมาณฝนก็น้อย

-จำนวนป่าเขา/ต้นไม้โดยธรรมชาติสื่อถึงปริมาณน้ำท่า

ป่าเขา/ต้นไม้มาก-ปริมาณฝนก็มาก น้ำท่าก็มาก

ป่าไม้เหลือน้อย-ปริมาณฝนก็น้อย
ฝน้ำท่าก็น้อย (จนกระทั่งน้ำไม่ไหลในลำธาร/ไม่ไหลในลำน้ำ/ไม่ไหลในแม่น้ำ…แล้วก็ไม่มีน้ำใต้ดินด้วย)

ปี2562

_ปริมาณฝนลดลงเหลือ 911 มม. ฝนธรรมชาติตกน้อย เนื่องจากป่าเขา/ต้นไม้เหลือน้อยเต็มที

_น้ำท่า 519Mm3 น้ำท่าเหลือน้อยเต็มที ก็เนื่องจากฝนไม่ตก ทั้งนี้ก็เพราะว่าไม่มีป่าเขา

-ระบบกักเก็บธรรมชาติ/แก่ง-ร่องน้ำธรรมชาติ ไม่อยู่ในสภาพสมดุลตามร่องเขาของระบบนิเวศ

กล่าวคือร่องเขา ยังพอเป็นสีเขียวส่วนข้างบนเขา นั้นกลายเป็นสีเหลืองเกือบทั้งลูกเขา-ตามภาพถ่ายทางอากาศ (เนื่องจากปริมาณฝนตกมีน้อยเกินไป-อันเนื่องจากว่าป่าอุ้มน้ำไว้ได้น้อยเกินไปและอุ้มความชึ้นไว้ในอากาศน้อยด้วยตามมา)

(แก่ง-ร่องน้ำธรรมชาติจำเป็นจะต้องได้รับการเสริมในลักษณะแบบธรรมชาติขึ้นมา ด้วยการสร้างฝายหิน เพิ่มการกักน้ำไว้ให้อยู่ในร่องเขาที่เป็นลำธารให้นานที่สุด/ซึมลงใต้ดิน(ตามระบบธรรมชาติ)ก่อนที่มันทั้งหมดจะไหลลงไปยังแม่น้ำลำคลอง ลำธารดั้งเดิมตามธรรมชาติที่เคยกักน้ำไว้ได้นั้น

ปัจจุบันก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของมันให้สมบูรณ์แบบได้เนื่องจากน้ำในเนื้อดินบนเขาสูงไม่มีเหลือและน้ำใต้ดินก็ไม่เหลือ(ไม่มีน้ำซึมลงใต้ดิน)
อันเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากฝนมีปริมาณน้อยซึ่งก็เพราะว่าป่าเขา/ต้นไม้เหลือน้อยนั่นเอง ระบบธรรมชาติมันเป็นเช่นนี้ วิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติมันเป็นเช่นนี้)

-เขื่อนกับอ่างเก็บน้ำประเภท artificial ก็มีปริมาณไม่เพียงพอ

กอปรกับน้ำก็ไม่ไหลเข้าเขื่อน/อ่างอันเนื่องมาจากว่าฝนมีปริมาณน้อยเป็นมูลเหตุหลัก (การเก็บกักโดยประชาชนตามบริเวณริมน้ำถือเป็นมูลเหตุรอง)

แม้ว่าจะสร้าง/จะมีเขื่อน/อ่างเก็บน้ำประเภท artificial ขึ้นมามากมายก็อาจไม่มีน้ำจืด เข้ามาเก็บกักก็ได้เนื่องจากฝนมีปริมาณน้อยซึ่งก็เพราะว่าป่าเขา/ต้นไม้เหลือน้อยนั่นเอง

ในการนี้ ฝายหินตามร่องน้ำลำธารบนป่าเขาทุกแห่งทุกระยะความสูงนับแสนนับล้านฝาย กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลุ่มน้ำปิงตอนบน อันหมายถึงสำหรับประเทศไทยในท้ายที่สุด

แก้มลิงArtificial ข้างๆลำธารใหญ่/ข้างลำคลอง/ข้างแม่น้ำ..ทุกแห่งทุกระยะความสูง นับพันนับหมื่นแก้มลิงกลายเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับลุ่มน้ำปิงตอนบน อันหมายถึงสำหรับประเทศไทยในท้ายที่สุดนั่นเองด้วยเช่นกัน

ในการนี้ การปลูกป่าทั่วบริเวณโดยเฉพาะการปลูกแบบผสมผสานกับแปลงเกษตรกรรมในอัตราพื้นที่(ที่ดินทุกๆ3-5ไร่)ให้เป็นป่าเขาในสัดส่วน : แปลงพืชสวนไร่นา อย่างน้อย 70 : 30 หรือให้ป่าเขา/ต้นไม้ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ก็ยังได้

แต่ปัจจุบันมิได้เป็นเช่นนั้น ป่าเขามันถูกบุกทำลายจนเป็นเขาหัวโล้น(โดยที่ราชการไม่มีขีดความสามารถพอที่จะทำหน้าที่ควบคุม)

ความต้องการน้ำจืดของจังหวัดภาคเหนือบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบน

-ฝน น้ำฝนหลายพัน มม/ปี คือ สิ่งที่คนไทยต้องการ (มิใช่ค่าเฉลี่ย 1,035มม/ปี)

-น้ำจืด ปริมาณมหาศาล 3,440 Mm3 ในปี62 (4,310 Mm3 ในอนาคตอันยาวไกล) คือ สิ่งที่คนไทย ณ ลุ่มน้ำปิงตอนบนต้องการ. (บนปริมาณน้ำฝนธรรมชาติดั้งเดิมที่น่าจะเคยมีตัวเลข 10,000-15,000 Mm3/ปี)

A_ฝน100% ของธรรมชาติดั้งเดิม มีน้ำฝนธรรมชาติดั้งเดิมหลายพัน มม/ปี

ปัจจุบันบนสภาพที่ป่าเขา/ต้นไม้เหลือน้อยเต็มทีนั้น เราต้องจัดการแบ่งฝนที่เป็นความต้องการออกได้ดังนี้

1,035 มม ของฝนบนสภาพการณ์ป่าเขาถูกทำลายในตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ ฝนธรรมชาติดั้งเดิมต้องตกใน พค.มิย.กค.สค.เนื่องจากว่าในปัจจุบันฝนธรรมชาติได้ลดปริมาณลง เป็นสัดส่วนของป่าเขา/ต้นไม้(ที่เหลือจริง) คือ ฝนตกใน พค มิย กค สค เพียง 911 มม ในปี62 เท่านั้น

ฉะนั้น ใน พค มิย ในปี 63 และปีหลังจากนี้ จะต้องเร่งฝนหลวงให้ได้ขึ้นมาอีก 124 มม เป็นอย่างน้อย

หรือหากสามารถทำเพิ่มได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งจะเป็นการดี โดยตัวเลขปริมาณฝนธรรมชาติกับฝนหลวงรวมกัน น่าจะต้องถึงร้อยละ 80 ของฝนธรรมชาติดั้งเดิมให้ได้

โดยที่ปริมาณร้อยละ20 ฝนธรรมชาติ กรณีที่ยังคงต้องการนั้นก็จะต้องทำฝนหลวงเพิ่มใน กค สค กย (กรณีไม่มีฝนธรรมชาติจากพายุไต้ฝุ่น)

20% ของน้ำฝนที่ขาดแคลนนั้นปกติแล้ว น่าจะต้องเป็นฝนธรรมชาติ (ดั้งเดิม) จากพายุไต้ฝุ่นใน กค สค กย

โดยใน สค.กย.หากไม่มีพายุไต้ฝุ่นแล้วเราก็ต้องเร่งทำฝนหลวงให้ได้ครบเต็มร้อยละ20 เป็นการทดแทนโดยหากไม่มีพายุไต้ฝุ่นแล้วเราเร่งให้ฝนตกใน กลาง/ปลาย สค. ต้น กย ที่ยังพอมีความชื้นในอากาศอยู่บ้างให้เกิดเป็นฝนหลวงเข้ารวมให้ได้ครบร้อยละ100 ตามตัวเลขระบบฝนธรรมชาติดั้งเดิม แล้วประเทศไทยก็จะไม่ขาดแคลนน้ำจืด

(ฝนหลวงถูกทำขึ้นโดย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็เพื่อชดเชยป่าเขา/ต้นไม้ที่หายไปจากธรรมชาติอันเนื่องมาจากถูกบุกรุกทำลาย

ในการนี้ การปรับแผนการทำฝนหลวง โดยกระทรวงเกษตรฯ และกองทัพอากาศ ก็จะต้องถูกริเริ่มขึ้น)

B_น้ำท่า น้ำจืด 3,440 Mm3/ปี คือตัวเลขเป้าหมาย

ตัวเลขเป้าหมายข้างต้นนี้เกิดได้สำเร็จมาจาก…

-การมีป่าเขา/ต้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งก็ต้องใช้เวลานานหลายสิบปีในการปลูกขึ้นมาใหม่ กล่าวคือ 50 ปีเป็นอย่างน้อย

-การมีฝายหินกักเก็บน้ำในลำธารซึ่งจะต้องสร้างขึ้นมาในจำนวนนับแสนนับล้านฝายทั่วทั้งภูเขาในลุ่มน้ำปิงตอนบน(และในทั่วประเทศไทย)

-การมีแก้มลิง นับพันนับหมื่นทุกระยะสูงริมข้างลำน้ำ/ข้างลำคลองรวมถึงข้างแม่น้ำ

-การมีเขื่อนArtificial ในจำนวนพอเหมาะตลอดลำน้ำ/แม่น้ำ (ทั้ง9สายน้ำในลุ่มน้ำในภาคเหนือของไทย-รวมถึงในทั่วทั้งประเทศไทย)

-การขุดลอกคูคลอง-การกั้นประตูน้ำในลำน้ำ(9สายน้ำ)/ในแม่น้ำสายใหญ่เป็นระยะๆกักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลากมิให้น้ำไหลบ่าทิ้งลงทะเลแบบเสียเปล่า

-การทำสวนทำไร่ทำนาผสมกับป่าเขาในสัดส่วนให้มีป่าเขาร้อยละ70 เป็นอย่างน้อย (การทำเกษตรกรรมเฉพาะในหุบเขาจะรักษาระบบนิเวศไว้ได้อย่างดีเยี่ยม) การทำเกษตรกรรมบนยอดเขาจะต้องหลีกเลี่ยง ยกเว้นว่ามีการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานกับป่าเขาในสัดส่วน 70 : 30 ดังที่กล่าวข้างต้น ในการนี้การทำเกษตรกรรมหากต้องมีแปลงเกษตรกรรมบนป่าเขาที่เป็นพื้นที่ลาดชันก็จะต้องเป็นแปลงเกษตรกรรมขั้นบันไดอย่างเดียวเท่านั้น

-เขาหัวโล้นที่น้ำไหลเร็วมันมิอาจก่อเกิดการซึมซับลงใต้ดินได้ ตรงกันข้ามมันก่อให้เกิดมวลน้ำขนาดใหญ่ไหลท่วมบ่าเมือง น้ำจากเขาหัวโล้นมันก่อเกิดกระแสน้ำขุ่นข้นสีแดง

ระบบ: ป่าเขา(ปลูกป่า50ปี บนทุกภูเขาทั้งลูกเขา)-ฝายหินในลำธาร-แก้มลิงข้างลำน้ำ-เขื่อนขวางแม่น้ำ-ประตูน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำ(ร่วมกับการขุดลอกคูคลองตลอดลำน้ำ/แม่น้ำ) …จะช่วยให้น้ำถูกดูดลงสู่ใต้ดินได้ในปริมาณมหาศาล ประเทศไทยโดยลุ่มน้ำปิงตอนบนก็จะมีน้ำใต้ดินได้ในปริมาณมากมหาศาล ระบบธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้น

ระบบ: ป่าเขา(ปลูกป่า50ปีบนทุกภูเขาทั้งลูกเขา)-ฝายหินในลำธาร-แก้มลิงข้างลำน้ำ-เขื่อน-ประตูน้ำ(ร่วมกับการขุดลอกคูคลองตลอดทั้งลำน้ำ/แม่น้ำ) …จะช่วยให้ระบบการส่งน้ำจากป่าเขาต้นน้ำเข้าสู่เมืองชุมชนเป็นระบบนิเวศใหม่ที่กลมกลืนเข้ากับระบบธรรมชาติดั้งเดิมที่สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดได้อย่างถาวร

ลุ่มน้ำปิงตอนบนน่าจะต้องมีน้ำจืดพอเพียงอย่างน้อย 8,000-10,000Mm3 ตลอดทั้งปี นี่คือ ตัวเลขเป้าหมายในอนาคตอันยาวไกลซึ่งมันสามารถบรรลุได้ด้วยการปลูกป่าบนทุกภูเขาทั้งลูกเขา(50ปี)-การสร้างฝายหินในลำธารจำนวนมหาศาล-การสร้างแก้มลิงข้างลำน้ำจำนวนมาก-การสร้างเขื่อน(จำนวนพอเหมาะสำหรับเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม)-การสร้างประตูน้ำร่วมกับการขุดลอกคูคลองตลอดลำน้ำ/แม่น้ำ(สำหรับใช้ในการบริโภคอุปโภคเป็นหลัก)…เท่านั้น

หากเป็นเช่นนี้แล้วน้ำจืดในลำน้ำ/ในแม่น้ำบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบน(รวมทั้งในทั่วประเทศไทย)ก็จะใสสะอาดไหลเรื่อยเอื่อย ตลอดทั้งปี(ไม่ขุ่นข้นเป็นสีแดงเข้มดังเช่นทุกวันนี้

-ผู้คนที่โดยสารเครื่องบินสามารถมองเห็นได้) ปัญหาน้ำเสียน้ำเน่าก็จะไม่เกิดขึ้น

อนึ่ง ไม่ว่าน้ำจืด มันจะไหลเป็นระยะทางเท่าใด (ความยาวของลำน้ำ/ของแม่น้ำนั้นธรรมชาติจะเป็นผู้กำหนด(ความยาว-ความกว้าง-ความชันของมัน)โดยอาศัยความเป็นระบบนิเวศของป่าเขา/ต้นไม้ตามธรรมชาติดั้งเดิม-มิใช่มนุษย์เป็นผู้สร้าง)

การวางแผนทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณฝนกับเพิ่มน้ำท่า

กระทรวง/กรม-กองทัพ(อากาศ)ต้องร่วมมือกัน ดังนี้

-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ : ปลูกป่า50ปี – สร้างฝายหิน

-กระทรวง/กรมเจ้าท่า : สร้างประตูน้ำ-ขุดลอกคูคลองแม่น้ำ

-กระทรวงเกษตรฯ กรมชลประทาน : สร้างแก้มลิง-เขื่อน-อ่างเก็บน้ำ … นำพาการทำเกษตรกรรมผสมผสานสัดส่วนป่าเขา : แปลงเกษตรกรรม = 70 : 30 ทั่วทั้งพื้นที่ภาคเหนือ มิใช่เฉพาะบนภูเขา(หัวโล้น) บนพื้นราบก็จะต้องใช้หลักการเดียวกัน (เกษตรกรรมพื้นราบใช้น้ำจืดทั้งหมดที่มันไหลลงมาตามลำธารร่องเขา)

กรมฝนหลวง : ทำฝนหลวง(ในฐานะเป็นเจ้าภาพหลัก)

-กองทัพอากาศ : ทำฝนหลวง – ทำการบินถ่ายภาพถ่ายทางอากาศ/ทำการประเมินวิเคราะห์เส้นทางน้ำไหลตามระดับความสูง – ทำการประเมินเปรียบเทียบการเติบโตของป่าเขา/การบุกรุกทำลายป่าเขาในทุกๆปีตามวงรอบที่กำหนด (พิสูจน์ทราบการทำลายป่า)

การดำเนินการ

กระทรวงเกษตรฯ/กรมฝนหลวง (ต้อง)ร่วมกับกองทัพอากาศวางแผนเร่งทำฝนหลวงใน พค มิย ให้มีปริมาณน้ำฝนธรรรมชาติกับฝนหลวงให้ได้ร้อยละ80ของปริมาณน้ำฝนธรรมชาติดั้งเดิม (ขจัดปัญหาขาดแคลนน้ำในเขื่อน)

โดยปรับระบบงบประมาณฝนหลวงให้มุ่งเน้นในการเพิมปริมาณฝนในห้วงที่อากาศมีความชื้นสูง(ห้วงฤดูฝน)

กระทรวงเกษตรฯ/กรมชลประทาน (ต้อง)ร่วมกับกองทัพอากาศวางแผนทำแก้มลิง ริมลำน้ำ/ริมลำคลองทุกระดับความสูง-สร้างเขื่อน/สร้างอ่างเก็บน้ำตามริมลำน้ำ/ริมแม่น้ำทุกระดับความสูง

แล้วการขุดบ่อบาดาล ก็ไม่จำเป็นต้องกระทำขึ้น (บ่อบาดาล มันทำลายระบบนิเวศอย่างหนัก)

กระทรวงเกษตรฯ/กรม.. (ต้อง)ร่วมกับกองทัพอากาศวางแผนจัดการระบบเกษตรกรรมแบผสมผสานกับป่าเขาในสัดส่วน 70 : 30 (ป้องกันปัญหา : เขาหัวโล้น)

กระทรวงทรัพยากรฯ/กรม.. ร่วมกับกองทัพอากาศ วางแผนทำฝายหินในลำธารตามร่องเขาทั่วทั้งป่าเขาในภูเขาทุกแห่งและควบคุมมันทั้งหมดด้วยGIS

การแก้ปัญหาเรื่องน้ำจืด-ป่าเขา … มิใช่เรื่องอื่นใด

การแก้ปัญหาเรื่องน้ำจืด-ป่าเขา …ถือว่าเป็นความท้าทายยิ่งในการสร้างปัญญา(ของคนไทย) ให้ฉลาดเท่าทัน กับวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ…เท่านั้น”

“เสืออากาศ24/7”

error: Content is protected !!