จัด 8 เรือรบ “สวนสนามทางเรือ” เทิดเกียรติ “บิ๊กนุ้ย” อำลา ผบ.ทร. “เรือหลวงจักรีนฤเบศร -นเรศวร-บางปะกง -ตาปี -ท้ายเหมือง -สุรินทร์ -ถลาง-มาตรา
/เผย ประวัติสวนสนามฯ คล้าย พิธี CORONATION REVIEW ของอังกฤษ /เริ่มครั้งแรก ในไทย 2497 อำลา “จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม”
กองทัพเรือ จัดพิธีสวนสนามทางบก พิธีสวนสนามทางเรือ และพิธีย่ำพระสุริย์ศรี เพื่อเป็นเกียรติแก่ บิ๊กนุ้ย พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ
โดยเดินทาง ด้วย เฮลิคอปเตอร์ ไปยัง”เรือหลวงอ่างทอง” ซึ่งจอดลอยลำอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน
ร่วมพิธีสวนสนามทางเรือที่กองทัพเรือ โดยกองเรือยุทธการจัดขึ้น
โดยมี บิ๊กโตน พลเรือเอก รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือสวนสนาม
ในพิธี เรือหลวงมกุฎราชกุมาร ยิงสลุต จำนวน 19 นัด เทิดเกียรติ ผบ.ทร.
โดยการสวนสนาม นี้ มี “เรือหลวงอ่างทอง” เป็นเรือรับรอง
ในส่วนเรือที่เข้าร่วมสวนสนามรวมทั้งสิ้น 8 ลำ ประกอบด้วย เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงตาปี เรือหลวงท้ายเหมือง เรือหลวงสุรินทร์ เรือหลวงถลางและ เรือหลวงมาตรา พร้อมอากาศนาวี
ทั้งนี้ พิธีสวนสนามทางเรือ เป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งของทหารเรือ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญ ๆ ของประเทศหรือต่างประเทศตามที่จะเห็นสมควร พิธีสวนสนามทางเรือของกองทัพเรือ เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ในปี พ.ศ.2457 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตก พิธีสวนสนามทางเรือคงจะนำแบบอย่างมาจากพิธี CORONATION REVIEW ของอังกฤษซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินภายหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จพระราชดำเนินตรวจเรือ พิธีนี้ได้กระทำขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย
ในปี พ.ศ.2496 ทางอังกฤษได้จัดให้มีพิธีพระบรมราชาภิเษกสมเด็จพระนางเจ้าอาลิซาเบธที่ 2 รัฐบาลไทยได้รับเชิญให้ส่งเรือหลวงเข้าร่วมพิธีด้วย กองทัพเรือได้ส่ง เรือหลวงโพสามต้น ไปร่วมพิธี
โดยได้เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2496 แล้วเข้าร่วมในพิธี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2496 และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2496
ต่อมาในปี พ.ศ.2497 กองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือขึ้นตามแบบประเทศตะวันตกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2497 ณ บริเวณบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น
โดยจัดเป็นกองเรือฝึกประกอบด้วยเรือหลวง จำนวน 45 ลำ มีจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ขณะมียศ พลเรือเอก ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับกองเรือฝึก และมี พล.ร.อ.หลวงชำนาญ อรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) ขณะมียศ พล.ร.ท. ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นรองผู้บังคับกองเรือฝึก
เรือที่เข้าร่วมสวนสนามทั้ง 45 ลำ อาทิ เรือหลวงสุโขทัย (ลำที่ 1) เรือหลวงรัตนโกสินทร์ (ลำที่ 1) เรือหลวงชุมพร เรือหลวงปัตตานี (ลำที่ 1) เรือหลวงระยอง เรือหลวงกันตัง (ลำที่ 1) เรือหลวงคลองใหญ่(ลำที่ 1) เรือหลวงตากใบ (ลำที่ 1) เรือหลวงบางปะกง (ลำที่ 1) เรือหลวงตองปลิว เรือหลวงลิ่วลม เรือหลวงล่องลม (ลำที่1) เรือหลวงสารสินธุ เรือหลวงสุครีพ เรือหลวงพาลี เรือ ปร.11 – ปร.16 (ปร.:ปราบเรือดำน้ำ) เรือหลวงบางระจัน (ลำที่ 1) เรือหลวงหนองสาหร่าย (ลำที่ 1) เรือหลวงบางแก้ว เรือหลวงท่าดินแดง (ลำที่ 1 ) เรือหลวงลาดหญ้า (ลำที่ 1 ) เรือหลวงอ่างทอง (ลำที่ 1 ) เรือหลวงสีชัง (ลำที่ 1 ) เรือหลวงกูด (ลำที่ 2 ) เรือหลวงไผ่ (ลำที่ 2 ) เรือหลวงปราบ เรือหลวงสัตกูด เรือหลวงอาดัง เรือหลวงมัตโพน เรือหลวงราวี เรือหล โกลำ เรือหลวงตะลิบง เรือหลวงสมุย (ลำที่ 2 ) เรือหลวงปรง เรือหลวงจาน เรือหลวงสุริยะ
Wassana Nanuam